ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง
Central Laboratory and Greenhouse Complex
หน้าแรก
ข้อมูลทั่วไป
ประวัติ
โครงสร้างการบริหาร
ผู้บริหาร
บุคลากร
วีดิทัศน์แนะนำศูนย์ฯ
หน่วยงาน
หน่วยบริหารและธุรการ
หน่วยวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมและเทคโนโลยี
หน่วยการใช้ประโยชน์จากผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ
หน่วยจุลชีววิทยาประยุกต์
หน่วยวิเคราะห์ วิจัยพฤกษเคมี
หน่วยอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรชีวภาพ
หน่วยวิจัยโรคพืชและศาสตร์สัมพันธ์
หน่วยทรัพยากรชีวภาพด้านแมลง
หน่วยวิเคราะห์ วิจัยดิน พืช และวัสดุเกษตร
หน่วยเทคโนโลยีเมล็ดพันธุ์และปรับปรุงพันธุ์พืช
หน่วยเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช
หน่วยอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พืชพรรณ
หน่วยพัฒนาอุปกรณ์และอาคารสถานที่
งานวิจัย
งานวิจัยศูนย์ปฏิบัติการวิจัย
รางวัล
โปสเตอร์งานวิจัย
ข้อมูลการตีพิมพ์วารสาร
จรรยาวิชาชีพวิจัยและแนวทางปฏิบัติ
ทรัพยากรพืชพรรณฯ
สมุนไพร
ไม้หอมเดิม
ไม้หอมใหม่
นานาสาระไม้หอม
ไม้ดอกไม้ประดับ
ไม้ผล
วัชพืช
วีดิทัศน์แนะนำพันธุ์ไม้
ต้นไม้ทรงปลูก
วารสารข่าวศูนย์ฯ
ดาวน์โหลด
ติดต่อเรา
งานวิจัย
งานวิจัยศูนย์ปฏิบัติการวิจัยฯ
รางวัล
โปสเตอร์งานวิจัย
ข้อมูลการตีพิมพ์วารสาร
จรรยาวิชาชีพวิจัย/แนวทางปฏิบัติ
พิธีลงนามอนุญาตให้ใช้สิทธิผลงานวิจัย เรื่อง กรรมวิธีการผลิตผงมะพร้าวน้ำหอม
เครื่องหมักขยะอินทรีย์อัตราเร่งสำหรับบ้านเรือนและองค์กรชุมชน
ผู้วิจัย
ดร. ลักขณา เบ็ญจวรรณ์ และคณะวิจัย
หน่วยวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมและเทคโนโลยี ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง
คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ. นครปฐม
โทร. 034-351-399
จุดเด่นของเทคโนโลยี
เครื่องหมักขยะอินทรีย์อัตราเร่งสำหรับบ้านเรือนและองค์กรชุมชน เป็นสิ่งประดิษฐ์ด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและการเกษตร ที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ประโยชน์ในการกำจัดขยะอินทรีย์ที่เกิดขึ้นในบ้านเรือน และองค์กรชุมชนที่มีคนอยู่อาศัยจำนวนมาก เช่น โรงเรียน ตลาดสด หอพัก เป็นต้น โดยวัตถุดิบที่ใช้ในการหมัก ได้แก่ ขยะอินทรีย์ ประเภทเศษอาหาร เศษผัก/ผลไม้ และเศษใบไม้แห้ง ที่มีอยู่ทั่วไปในบ้านเรือนประชาชน จุดเด่นของเทคโนโลยี คือ
สามารถเติมขยะอินทรีย์เข้าระบบได้ทุกวันและทุกเวลาอย่างต่อเนื่อง
ภายในถังหมักมีชุดอุปกรณ์ช่วยผสมเพื่อให้เกิดการชักนำอากาศเข้าสู่กอง ทำให้ขยะอินทรีย์เกิดการย่อยสลายเร็ว ไม่มีกลิ่นเหม็นหรือน้ำชะขยะ (หากทำการควบคุมความชื้นและสัดส่วนของขยะอินทรีย์ในระบบอย่างเหมาะสม) การหมักขยะอินทรีย์ด้วยเครื่องมือนี้จะทำให้ได้ปุ๋ยหมักที่สามารถใช้ประโยชน์เพื่อการบำรุงดินหรือใช้เป็นปุ๋ยต้นไม้ได้ภายในระยะเวลา 20-30 วันต่อ 1 รอบการหมัก
สิ่งประดิษฐ์นี้ สร้างขึ้นเพื่อเป็นเครื่องมือจูงใจให้ภาคประชาชนร่วมกันกำจัดขยะมูลฝอยในบ้านเรือนหรือองค์กรของตนเอง ซึ่งเป็นการลดปริมาณมูลฝอย ณ แหล่งกำเนิด และส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากขยะอินทรีย์ ทำให้ได้ “ปุ๋ยหมัก” เพื่อการปรับปรุงดินและเป็นปุ๋ยต้นไม้ ทำให้ลดค่าใช้จ่ายในการใช้ปุ๋ยเคมี เกิดการหมุนเวียนธาตุอาหารพืชในสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้การส่งเสริมการใช้งานเครื่องหมักขยะอินทรีย์นี้ให้แพร่หลายในภาคประชาชน จะช่วยลดปริมาณมูลฝอย ชักนำให้เกิดพฤติกรรมการคัดแยกขยะ และทำให้ภาครัฐประหยัดงบประมาณด้านการบริหารจัดการมูลฝอย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จะสามารถลดค่าใช้จ่ายด้านการเก็บขนและการกำจัดมูลฝอยลงได้อย่างน้อยร้อยละ 30 อีกทั้งยังสามารถช่วยลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากการย่อยสลายแบบไม่สมบูรณ์ของขยะมูลฝอย อันจะเป็นการช่วยบรรเทาปัญหาสภาวะโลกร้อนได้อีกประการหนึ่ง
เครื่องหมักขยะอินทรีย์ขนาดเล็ก สำหรับบ้านเรือน
เครื่องหมักขยะอินทรีย์ขนาดใหญ่ สำหรับองค์กรชุมชน
ดาวน์โหลด
บทความนี้
แถลงข่าวงานเกษตรแฟร์ ประจำปี 2555
"นักวิจัย มก. ผลิตเครื่องหมักขยะอินทรีย์ สำหรับบ้านเรือนและองค์กรชุมชน ช่วยลดปริมาณขยะและสภาวะโลกร้อน"
เครื่องหมักขยะอินทรีย์ฝีมือ มก. ใช้ได้ทั้งที่บ้านและชุมชน นิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้าน ปีที่ 24 ฉบับที่ 529 (15 มิถุนายน 2555)
หน้าแรก
|
งานวิจัย
Top