ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง
Central Laboratory and Greenhouse Complex
งานวิจัย

พิธีลงนามอนุญาตให้ใช้สิทธิผลงานวิจัย เรื่อง กรรมวิธีการผลิตผงมะพร้าวน้ำหอม
coconut
clgc36logo
งานวิจัย
ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ คณะเกษตร กำแพงแสน
ถังน้ำหมักชีวภาพ แบบกวนผสมอัตโนมัติ
ถังน้ำหมักชีวภาพ แบบกวนผสมอัตโนมัติ ถังน้ำหมักชีวภาพ แบบกวนผสมอัตโนมัติ ช่วยลดปัญหาด้านการขาดแคลนแรงงาน และเวลา ซึ่งถังน้ำหมักชีวภาพแบบกวนผสมอัตโนมัตินี้ประกอบด้วยถังพลาสติกขนาด 200 ลิตร และชุดอุปกรณ์ช่วยผสมที่ต่อเชื่อมกับอุปรณ์อิเล็กทรอนิคส์ คือ ระบบตั้งเวลาและชุดควบคุมภาระงาน ทำให้สามารถกำหนดความถี่หรือระยะเวลาในการกวนผสมอินทรียวัตถุภายในถังได้อย่างเหมาะสม ยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตในด้านของการย่นระยะเวลาการหมักเสร็จสมบูรณ์ สอบถามได้ที่ อาจารย์ปิยะรัตน์ วิจักขณ์สังสิทธิ์ ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ. นครปฐม โทร. 0-3435-1399
เครื่องกลผลิตปุ๋ยหมัก 3 โมเดล เติมอากาศปุ๋ยด้วยระบบมือหมุน ปั่นจักรยาน มอเตอร์ไฟฟ้า
เครื่องกลผลิตปุ๋ยหมัก สำหรับคนทำปุ๋ยหมักคงเป็นที่ทราบกันดีว่า การระบายความร้อนแก่กองปุ๋ยโดยการกลับกองนั้นเป็นสิ่งจำเป็น ไม่เช่นนั้นกองปุ๋ยก็จะร้อนเกินไปจนไม่เอื้อต่อการทำงานของจุลินทรีย์ ทำให้ได้ปุ๋ยหมักช้าลง ถ้าปุ๋ยหมักกองใหญ่จำต้องมีแรงงานมาก หากใช้ระบบเติมอากาศจากพัดลมโบรเวอร์ต้องลงทุนสูง แต่สำหรับการผลิตปุ๋ยปริมาณน้อยแบบครัวเรือนแล้วง่ายกว่านั้นมาก อ่านต่อ...
การใช้สารไคโตซานร่วมกับสารเร่งการเจริญเติบโตเพิ่มประสิทธิภาพการสร้างสารสำคัญทางโภชนาการในการเพาะเลี้ยงข้าวหอมมะลิ
ข้าวหอมมะลิ 105 ศึกษาการใช้สารไคโตซานในการแช่เมล็ดและไม่แช่เมล็ดข้าวหอมมะลิ 105 ก่อนนำมาเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ พบว่า ต้นกล้าข้าวที่เจริญจากเมล็ดที่แช่สารไคโตซานมีลำต้นและใบสีเขียวเข้มกว่า ต้นกล้าที่เจริญมาจากเมล็ดที่ไม่แช่สารไคโตซานหลังจากเลี้ยงในอาหารสูตร MS ปราศจากสารเร่งการเจริญเติบโตเป็นเวลา 14 วัน จากนั้นนำต้นกล้าที่ได้จากการแช่และไม่แช่เมล็ดด้วยสารไคโตซานมาเลี้ยงในอาหารสูตร MS ที่เติม TDZ 2 มก./ล. ร่วมกับสารไคโตซานความเข้มข้นต่างๆ อ่านต่อ...
เครื่องหมักขยะอินทรีย์อัตราเร่งสำหรับบ้านเรือนและองค์กรชุมชน
เครื่องหมักขยะอินทรีย์ เครื่องหมักขยะอินทรีย์อัตราเร่ง สำหรับบ้านเรือนและองค์กรชุมชน เป็นสิ่งประดิษฐ์ด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและการเกษตรที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ประโยชน์ในการกำจัดขยะอินทรีย์ที่เกิดขึ้นในบ้านเรือน และองค์กรชุมชนที่มีคนอยู่อาศัยจำนวนมาก เช่น โรงเรียน ตลาดสด หอพัก เป็นต้น โดยวัตถุดิบที่ใช้ในการหมัก ได้แก่ ขยะอินทรีย์ประเภทเศษอาหาร เศษผัก/ผลไม้ และเศษใบไม้แห้ง ที่มีอยู่ทั่วไปในบ้านเรือน อ่านต่อ...
ผลของการยกระดับการงอกของเมล็ดฟักข้าวด้วยการใช้วิธีกลและสารเคมี
ฟักข้าว การศึกษาผลของการยกระดับการงอกของเมล็ดฟักข้าวด้วยการใช้วิธีกลและการใช้สารเคมี วิธีกลเป็นการทำลายเปลือกหุ้มเมล็ด มี 3 กรรมวิธี คือ แกะเปลือกหุ้มเมล็ด แกะเปลือกหุ้มเมล็ดพร้อมกับลอกเยื่อหุ้มเมล็ดชั้นใน และตัดปลายเปลือกหุ้มเมล็ด เพื่อเปรียบเทียบกับกรรมวิธีควบคุม คือ ไม่แกะเปลือกหุ้มเมล็ด ส่วนการใช้สารเคมีเป็นการแช่เมล็ดที่แกะเปลือกหุ้มเมล็ดออกแล้วในสารละลาย 4 ชนิด คือ KNO3, PEG 6000, NaCl และ GA3 ที่ระดับความเข้มข้น 0.5%, 1.0%, 1.5% และ 2.0% อ่านต่อ...
วัสดุปลูกที่เหมาะสมสำหรับการเจริญเติบโตและการเกิดรากของต้นกล้าฟักข้าว
ฟักข้าว การศึกษาชนิดของวัสดุปลูกที่เหมาะสมสำหรับการเจริญเติบโตและการเกิดรากของต้นกล้าฟักข้าว เปรียบเทียบวัสดุปลูก 3 ตำรับ คือ ตำรับที่ 1 (ดินร่วน 2 ส่วน : ขี้เถ้าแกลบ 3 ส่วน : ปุ๋ยคอก 1 ส่วน)  ตำรับที่ 2 (ดินร่วน 2 ส่วน : ขี้เถ้าแกลบ 2 ส่วน : ปุ๋ยคอก 2 ส่วน)  และตำรับที่ 3 (ดินร่วน 1 ส่วน : ใบไม้ผุ  2 ส่วน : ขี้เถ้าแกลบ 2 ส่วน : ปุ๋ยคอก 1 ส่วน)  วางแผนการทดลองแบบสุ่มอย่างสมบูรณ์ (completely randomized design, CRD) จำนวน 3 ซ้ำ  ดำเนินการทดลองที่แปลงทดลองของ หน่วยเทคโนโลยีเมล็ดพันธุ์และปรับปรุงพันธุ์พืช ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง อ่านต่อ...
การใช้วัสดุเพาะร่วมกับสารละลายธาตุอาหารสำหรับผลิตต้นอ่อนข้าวหอมมะลิ
ข้าวหอมมะลิ 105 การเปรียบเทียบวัสดุเพาะที่เหมาะสมร่วมกับสารละลายธาตุอาหารสำหรับผลิตต้นอ่อนข้าวหอมมะลิ 105 โดยใช้วัสดุเพาะ 6 ชนิด คือ แกลบดิบ ขี้เถ้าแกลบ ผ้าขนหนู กระดาษเพาะ ฟองน้ำ และทราย ร่วมกับการให้สารละลายธาตุอาหาร และไม่ให้สารละลายธาตุอาหาร (ให้น้ำอย่างเดียว) วางแผนการทดลองโดยจัดหน่วยทดลองแบบ Factorial in CRD จำนวน 3 ซ้ำ ดำเนินการทดลองที่แปลงทดลองหน่วยเทคโนโลยีเมล็ดพันธุ์และปรับปรุงพันธุ์พืช ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง อ่านต่อ...
เทคนิคการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตต้นกล้าข้าวสาลีอินทรี 1 เพื่อทำน้ำคั้นใบข้าว
น้ำคั้นใบข้าว การศึกษาเทคนิคการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตต้นกล้าข้าวสาลีอินทรี 1 เพื่อทำน้ำคั้นใบข้าว โดยใช้วัสดุเพาะ 6 ชนิด คือ แกลบดิบ ขี้เถ้าแกลบ ผ้าขนหนู กระดาษเพาะ ฟองน้ำ และทราย ร่วมกับการให้สารละลายธาตุอาหาร และการใช้น้ำ วางแผนการทดลองแบบ Factorial in CRD จำนวน 3 ซ้ำ ดำเนินการทดลองที่แปลงทดลองหน่วยเทคโนโลยีเมล็ดพันธุ์และปรับปรุงพันธุ์พืช ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม อ่านต่อ...
การพัฒนาเชื้อนิวคลีโอโพลีฮีโดรไวรัสเพื่อใช้ในการกำจัดหนอเจาะสมอฝ้าย
หนอเจาะสมอฝ้าย หนอนเจาะสมอฝ้าย (Helicoverpa armigera) เป็นศัตรูสำคัญของพืชผักหลายชนิด เช่น ฝ้าย ยาสูบ พริก พืชวงศ์ถั่ว หน่อไม้ฝรั่ง องุ่น กระเจี๊ยบเขียว และมะเขือเทศ เป็นต้น  การใช้สารเคมีฆ่าแมลงอย่างต่อเนื่องทำให้หนอนเจาะสมอฝ้ายสร้างความต้านทานต่อสารเคมีอย่างรวดเร็ว และสารเคมีฆ่าแมลงยังก่อให้เกิดอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตอื่นๆ รวมทั้งแมลงที่มีประโยชน์ เกษตรกรผู้ใช้สารเคมีและผู้บริโภค อ่านต่อ...
ผลของ Soil Mate ต่อการเจริญเติบโตและการดูดซึมธาตุอาหารของพริก
พริก ศึกษาอัตราส่วนที่เหมาะสมของ Soil Mate ต่อการเจริญเติบโต และการดูดซึมธาตุอาหารของพริก แบ่งการทดลองออกเป็น 5 กรรมวิธี คือ กรรมวิธีที่ 1 (T-1 ชุดควบคุม ให้น้ำอย่างเดียว) กรรมวิธีที่ 2 (T-2 ใช้ Soil Mate เข้มข้น) กรรมวิธีที่ 3 (T-3 ใช้ Soil Mate เจือจาง 1:10) กรรมวิธีที่ 4 (T-4 ใช้ Soil Mate เจือจาง 1:30) และกรรมวิธีที่ 5 (T-5 ใช้ Soil Mate เจือจาง 1:60) ทำการทดลองกรรมวิธีละ 3 ซ้ำ อ่านต่อ...
ผลของ w zero (wo) ที่มีต่อการเจริญเติบโต องค์ประกอบผลผลิต และผลผลิตของข้าวสุพรรณบุรี 1
ข้าวสุพรรณบุรี 1 ศึกษาผลของของเหลวที่เหลือจากการเลี้ยงยีสต์ (WO) ที่มีต่อการเจริญเติบโต องค์ประกอบผลผลิต และผลผลิตของข้าวพันธุ์สุพรรณบุรี 1 วางแผนการทดลองแบบ RCB ทำ 3 ซ้ำโดยมี 4 กรรมวิธี ได้แก่ กรรมวิธีที่ 1 ใช้ปุ๋ยเคมี 16-20-0 อัตรา 20 กก./ไร่   กรรมวิธีที่ 2 รด WO 300 ลิตร/ไร่ เพื่อหมักดินก่อนเตรียมดิน 7 วัน ร่วมกับรด WO ในอัตราเดียวกันและปุ๋ยเคมี 16-20-0 อัตรา 20 กก./ไร่  กรรมวิธีที่ 3 อ่านต่อ...
การพัฒนาแตงกวาให้ต้านทานโรคราน้ำค้างด้วยเทคโนโลยีชีวภาพ
โรคราน้ำค้างแตงกวา วันพุธที่ 4 พฤษภาคม 2554 รายการ ข่าวภาคเที่ยง ช่วงเกษตรวันนี้ สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบก ช่อง 7 เผยแพร่งานวิจัยของศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง เรื่อง "การพัฒนาแตงกวาให้ต้านทานโรคราน้ำค้างด้วยเทคโนโลยีชีวภาพ" วิทยากรโดย ดร. อัฐชลี รวีโรจน์วิบูลย์ หน่วยอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรชีวภาพ อ่านต่อ...
วิจัย ดีเอ็นเอ แตงกวา มก. พัฒนา..ต้านราน้ำค้าง
โรคราน้ำค้างแตงกวา ดร. อัญชลี รวีโรจน์วิบูลย์  นักวิจัยชำนาญการ หน่วยอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรชีวภาพ ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง ร่วมกับ รศ.ดร. จุลภาค คุ้นวงศ์ ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร กำแพงแสน ดำเนินงานวิจัยเรื่อง "การสร้างแตงกวาสายพันธุ์ Double haploid" อ่านต่อ...