ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง
Central Laboratory and Greenhouse Complex
หน้าแรก
ข้อมูลทั่วไป
ประวัติ
โครงสร้างการบริหาร
ผู้บริหาร
บุคลากร
วีดิทัศน์แนะนำศูนย์ฯ
หน่วยงาน
หน่วยบริหารและธุรการ
หน่วยวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมและเทคโนโลยี
หน่วยการใช้ประโยชน์จากผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ
หน่วยจุลชีววิทยาประยุกต์
หน่วยวิเคราะห์ วิจัยพฤกษเคมี
หน่วยอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรชีวภาพ
หน่วยวิจัยโรคพืชและศาสตร์สัมพันธ์
หน่วยทรัพยากรชีวภาพด้านแมลง
หน่วยวิเคราะห์ วิจัยดิน พืช และวัสดุเกษตร
หน่วยเทคโนโลยีเมล็ดพันธุ์และปรับปรุงพันธุ์พืช
หน่วยเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช
หน่วยอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พืชพรรณ
หน่วยพัฒนาอุปกรณ์และอาคารสถานที่
งานวิจัย
งานวิจัยศูนย์ปฏิบัติการวิจัย
รางวัล
โปสเตอร์งานวิจัย
ข้อมูลการตีพิมพ์วารสาร
จรรยาวิชาชีพวิจัยและแนวทางปฏิบัติ
ทรัพยากรพืชพรรณฯ
สมุนไพร
ไม้หอมเดิม
ไม้หอมใหม่
นานาสาระไม้หอม
ไม้ดอกไม้ประดับ
ไม้ผล
วัชพืช
วีดิทัศน์แนะนำพันธุ์ไม้
ต้นไม้ทรงปลูก
วารสารข่าวศูนย์ฯ
ดาวน์โหลด
ติดต่อเรา
งานวิจัย
งานวิจัยศูนย์ปฏิบัติการวิจัยฯ
รางวัล
โปสเตอร์งานวิจัย
ข้อมูลการตีพิมพ์วารสาร
จรรยาวิชาชีพวิจัย/แนวทางปฏิบัติ
พิธีลงนามอนุญาตให้ใช้สิทธิผลงานวิจัย เรื่อง กรรมวิธีการผลิตผงมะพร้าวน้ำหอม
การพัฒนาแตงกวาให้ต้านทานโรคราน้ำค้างด้วยเทคโนโลยีชีวภาพ
วันพุธที่ 4 พฤษภาคม 2554
รายการข่าวภาคเที่ยง ช่วงเกษตรวันนี้ สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบก ช่อง 7
เผยแพร่งานวิจัยของศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง
เรื่อง "การพัฒนาแตงกวาให้ต้านทานโรคราน้ำค้างด้วยเทคโนโลยีชีวภาพ"
วิทยากรโดย ดร. อัญชลี รวีโรจน์วิบูลย์ นักวิจัยชำนาญการ
หน่วยอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรชีวภาพ
นักวิจัย ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมกับ ศูนย์พันธุวิศวกรรมแห่งชาติ ได้ใช้เทคโนโลยีดีเอ็นเอ มาพัฒนาแตงกวาจนได้พันธุ์ใหม่ ต้านทานต่อโรคราน้ำค้าง และมีลักษณะเด่น เพื่อที่จะนำไปใช้เป็นพ่อ-แม่พันธุ์ผลิตแตงกวาลูกผสมต่อไป
เทคนิคดังกล่าวจะใช้ต้นแม่ซึ่งเป็นแตงกวาลูกผสม มียีนต้านทานโรคราน้ำค้าง แต่ไม่สามารถเก็บเมล็ดเพื่อทำพันธุ์ต่อได้ โดยนำเฉพาะเซลล์รังไข่มาผ่านกระบวนการเพาะเลี้ยง เพื่อให้ได้แตงกวาต้นใหม่โดยไม่ต้องผสมกับเกสรตัวผู้ แล้วคัดเลือกเฉพาะต้นที่มีโครโมโซม 2 ชุด ซึ่งเกิดจากโครโมโซมแท่งเดียวกัน เรียกว่า ดับเบิ้ล แฮพพล็อยด์ (Double haploid) การคัดต้นแตงกวาดังกล่าว ต้องนำตัวอย่างใบมาบด แล้วตรวจสอบด้วยเครื่อง โฟล์วไซโตมิเตอร์ (Flowcytometer)
วิธีนี้ทำให้ได้ต้นแตงกวารุ่นที่สอง เป็นพันธุ์แท้มีลักษณะนิ่ง และมีโครโมโซม 2 ชุด สามารถใช้เป็นพ่อ-แม่พันธุ์ต่อได้ ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนนำไปทดลองปลูกในแปลง เพื่อจะคัดให้ได้แตงกวาพันธุ์ใหม่ ที่ต้านทานต่อโรคราน้ำค้าง หรือเป็นแตงกวาที่ให้ผลผลิตสูง คุณภาพดี ให้เกษตรกรได้ปลูกเร็วๆ นี้ ซึ่งการพัฒนาพันธุ์แตงกวาด้วยการผสมข้าม หรือผสมตัวเองตามแบบเดิม มักเกิดลักษณะที่กระจาย ต้องใช้เวลาคัดสายพันธุ์ 6 ถึง 8 ปี แต่เทคนิคด้านดีเอ็นเอดังกล่าวใช้เวลาสั้นเพียง 1 ถึง 2 ปีเท่านั้น
หน้าแรก
|
งานวิจัย
Top