ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง
Central Laboratory and Greenhouse Complex
หน้าแรก
ข้อมูลทั่วไป
ประวัติ
โครงสร้างการบริหาร
ผู้บริหาร
บุคลากร
วีดิทัศน์แนะนำศูนย์ฯ
หน่วยงาน
หน่วยบริหารและธุรการ
หน่วยวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมและเทคโนโลยี
หน่วยการใช้ประโยชน์จากผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ
หน่วยจุลชีววิทยาประยุกต์
หน่วยวิเคราะห์ วิจัยพฤกษเคมี
หน่วยอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรชีวภาพ
หน่วยวิจัยโรคพืชและศาสตร์สัมพันธ์
หน่วยทรัพยากรชีวภาพด้านแมลง
หน่วยวิเคราะห์ วิจัยดิน พืช และวัสดุเกษตร
หน่วยเทคโนโลยีเมล็ดพันธุ์และปรับปรุงพันธุ์พืช
หน่วยเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช
หน่วยอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พืชพรรณ
หน่วยพัฒนาอุปกรณ์และอาคารสถานที่
งานวิจัย
งานวิจัยศูนย์ปฏิบัติการวิจัย
รางวัล
โปสเตอร์งานวิจัย
ข้อมูลการตีพิมพ์วารสาร
จรรยาวิชาชีพวิจัยและแนวทางปฏิบัติ
ทรัพยากรพืชพรรณฯ
สมุนไพร
ไม้หอมเดิม
ไม้หอมใหม่
นานาสาระไม้หอม
ไม้ดอกไม้ประดับ
ไม้ผล
วัชพืช
วีดิทัศน์แนะนำพันธุ์ไม้
ต้นไม้ทรงปลูก
วารสารข่าวศูนย์ฯ
ดาวน์โหลด
ติดต่อเรา
งานวิจัย
งานวิจัยศูนย์ปฏิบัติการวิจัยฯ
รางวัล
โปสเตอร์งานวิจัย
ข้อมูลการตีพิมพ์วารสาร
จรรยาวิชาชีพวิจัย/แนวทางปฏิบัติ
พิธีลงนามอนุญาตให้ใช้สิทธิผลงานวิจัย เรื่อง กรรมวิธีการผลิตผงมะพร้าวน้ำหอม
วัสดุปลูกที่เหมาะสมสำหรับการเจริญเติบโตและการเกิดรากของต้นกล้าฟักข้าว
ผู้วิจัย
เนตรชนก เกียรติ์นนทพัทธ์ และชวนพิศ อรุณรังสิกุล
บทคัดย่อ
การศึกษาชนิดของวัสดุปลูกที่เหมาะสมสำหรับการเจริญเติบโตและการเกิดรากของต้นกล้าฟักข้าว เปรียบเทียบวัสดุปลูก 3 ตำรับ คือ ตำรับที่ 1 (ดินร่วน 2 ส่วน : ขี้เถ้าแกลบ 3 ส่วน : ปุ๋ยคอก 1 ส่วน) ตำรับที่ 2 (ดินร่วน 2 ส่วน : ขี้เถ้าแกลบ 2 ส่วน : ปุ๋ยคอก 2 ส่วน) และตำรับที่ 3 (ดินร่วน 1 ส่วน : ใบไม้ผุ 2 ส่วน : ขี้เถ้าแกลบ 2 ส่วน : ปุ๋ยคอก 1 ส่วน) วางแผนการทดลองแบบสุ่มอย่างสมบูรณ์ (completely randomized design, CRD) จำนวน 3 ซ้ำ ดำเนินการทดลองที่แปลงทดลองของหน่วยเทคโนโลยีเมล็ดพันธุ์และปรับปรุงพันธุ์พืช ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม ผลการทดลอง พบว่า วัสดุปลูกตำรับที่ 3 ให้ค่าเฉลี่ยที่สูงในลักษณะความสูงต้น จำนวนใบต่อต้น จำนวนรากต่อต้น และน้ำหนักรากสด น่าจะเป็นตำรับที่เหมาะสมต่อการใช้เป็นวัสดุปลูกต้นฟักข้าวมากที่สุด รองลงมาคือ ตำรับที่ 2 แต่พบว่า วัสดุปลูกตำรับที่ 1 ให้ความยาวราก และน้ำหนักแห้งรากสูงที่สุด ส่วนวัสดุปลูกตำรับที่ 2 ให้ลักษณะน้ำหนักต้นสดสูงที่สุด
ดาวน์โหลด
โปสเตอร์งานวิจัยนี้
หน้าแรก
|
งานวิจัย
Top