ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง
Central Laboratory and Greenhouse Complex
ทรัพยากรพืชพรรณฯ
 
ตะลิงปลิง ตะลิงปลิง
 
ตะลิงปลิง
ชื่ออื่นๆ: กะลิงปริง หลิงปริง (ภาคใต้) บลิมิง (มาเลเซีย)
ชื่อสามัญ: Bilimbi, Cucumber tree, Tree sorrel
ชื่อวิทยาศาสตร์: Averrhoa bilimbi L.
วงศ์: OXALIDACEAE
ถิ่นกำเนิด: ประเทศบราซิล
ลักษณะทั่วไป: เป็นไม้ต้นขนาดเล็ก สูงประมาณ 6 ม.
การขยายพันธุ์: เพาะเมล็ด  การตอนกิ่ง
ข้อดีของพันธุ์ไม้: เป็นพันธุ์ไม้ที่ใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง
ข้อแนะนำ: ปลูกได้ดีในดินปนทราย
ข้อมูลอื่นๆ:
ดอก ชงกินแก้ไอ
ผล เป็นยาเจริญอาหาร ทำน้ำผลไม้ ผลไม้แห้ง และแช่อิ่ม ลูกตะลิงปลิง 100 กรัม ให้พลังงานต่อร่างกาย 11 กิโลแคลลอรี่ ประกอบด้วยเส้นใย 0.3 กรัม แคลเซี่ยม 1 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 6 มิลลิกรัม เหล็ก 0.2 มิลลิกรัม วิตามินเอ 267 IU วิตามินบีหนึ่ง 0.03 มิลลิกรัม วิตามินบีสอง 0.09 มิลลิกรัม ไนอาซีน 0.7 มิลลิกรัม วิตามินซี 2 มิลลิกรัม
ใบ ใช้พอกแก้คัน
น้ำตะลิงปลิงสด ส่วนผสม ตะลิงปลิง ประมาณ 1/2 ก.ก. น้ำตาล 2 ถ้วย น้ำ 3 1/2 ถ้วย เกลือ 1 ช้อนโต๊ะ
 
วิธีทำ
1. เอาน้ำกับน้ำตาลตั้งไฟพอเดือดละลายดีก็ยกลง ทิ้งให้เย็น
2. ล้างตะลิงปลิงให้สะอาด เอาขั้วออกและหั่นเอาเมล็ดออก หั่นขนาดไหนก็ได้เดี๋ยวก็จะปั่นแล้ว แบ่งออกเป็น 2 ส่วน
3. เอาตะลิงปลิงใส่เครื่องปั่น 1 ส่วน และเติมน้ำเชื่อมไปครึ่งหนึ่ง จนถึงจุดที่ปั่นแล้วไม่ล้นเครื่องปั่น เติมเกลือ 1/2 ช้อนโต๊ะ ปั่นละเอียดมากๆ เทส่วนผสมที่ปั่นได้ลงในตะแกรง กรองเอากากออก ทำแบบเดิมกับตะลิงปลิงและน้ำเชื่อมส่วนที่เหลือ จะได้น้ำตะลิงปลิงที่รสเข้มข้น ประมาณเหยือก 1 ลิตร ลองชิมดูถ้าชอบรสเค็มต้องเติมเกลืออีกนิดหนึ่ง ถ้าอยากให้หวานน้อยลงก็เติมน้ำสุกเย็น กะดูให้รสหวาน เปรี้ยวกำลังดีเมื่อผสมกับน้ำแข็งเกล็ดแล้ว
หมายเหตุ: ตะลิงปลิง เป็นพันธุ์ไม้ที่ประชาชนไม่ค่อยให้ความสนใจและใกล้จะสูญพันธุ์ ทั้งๆ ที่มีคุณประโยชน์ในหลายๆ ด้าน
เอกสารอ้างอิง:
1. วุฒิ วุฒิธรรมเวช.  2540.  สารานุกรมสมุนไพร.  618 หน้า (207)
รวบรวมโดย: นพพล เกตุประสาท  และ รัตนะ สุวรรณเลิศ
หน่วยอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พืชพรรณ ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง
คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ.นครปฐม