|
มะเฟืองหวาน |
ชื่ออื่นๆ: |
เฟือง สะบือ |
ชื่อสามัญ: |
Star apple, Star fruit |
ชื่อวิทยาศาสตร์: |
Averrhoa carambola L. |
วงศ์: |
AVERRHOACEAE |
ถิ่นกำเนิด: |
ประเทศไทย |
ลักษณะทั่วไป: |
ไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ทรงพุ่มทึบ ไม่เป็นรูปทรงที่แน่นอน สามารถควบคุมทรงพุ่มได้โดยการตัดแต่ง |
ฤดูการออกดอก: |
ออกดอก และติดผลตลอดปี |
การขยายพันธุ์: |
|
การตอนกิ่ง เป็นวิธีการที่เหมาะสมที่สุด |
|
การเพาะเมล็ด สามารถทำได้ แต่อาจพบการกลายพันธุ์ได้ |
|
ข้อดีของพันธุ์ไม้: |
ออกดอก และติดผลตลอดปี |
ข้อมูลอื่นๆ: |
|
สายพันธุ์ของมะเฟือง
|
มะเฟืองเปรี้ยว เป็นพันธุ์ที่มีอยู่ดั้งเดิมตามชนบทของประเทศไทย ซึ่งมีทั้งผลใหญ่และเล็ก |
|
มะเฟืองพันธุ์ไต้หวัน ได้มีผู้นำเข้ามาปลูกนานแล้ว มีลักษณะผลใหญ่พอประมาณ ลักษณะผล กลีบบาง ขอบบิด มีรสชาติหวาน |
|
มะเฟืองพันธุ์กวางตุ้ง ลักษณะผล สีขาวนวล ขอบกลีบสีเขียว มีรสชาติหวานคล้ายพันธุ์ไต้หวัน |
|
มะเฟืองพันธุ์มาเลเซีย เป็นพันธุ์ที่เพิ่งมีผู้นำเข้ามาปลูกในประเทศไทยได้เมื่อไม่กี่ปีมานี้ เป็นพันธุ์ที่มีผลใหญ่ เนื้อฉ่ำน้ำ มีน้ำหนักมาก ตั้งแต่ 200 - 700 กรัม มีรสชาติออกหวานปนเปรี้ยวเล็กน้อย มะเฟืองมาเลเซียนี้ยังแบ่งออกได้อีกหลายสายพันธุ์ คือ
+ พันธุ์ บี 10 |
เป็นพันธุ์มาเลเซียที่เข้ามาในประเทศไทยในยุคแรกๆ ลักษณะผลใหญ่ กลีบบาง ร่องลึก ผลฉ่ำน้ำ เนื้อนิ่ม รสหวาน เมื่อสุกงอมจัด ผิวจะเป็นสีเหลืองทอง ปัจจุบันมีปลูกกันมาก และบางแห่งปลูกเป็นอุตสาหกรรมทำน้ำมะเฟืองบรรจุกระป๋องจำหน่ายอีกด้วย |
+ พันธุ์บี 17 (Honey Star) |
เป็นพันธุ์ใหม่ที่เข้ามาภายหลังพันธุ์ บี 10 ลักษณะผลจะเล็กกว่า บี 10 แต่จะออกทรงยาว กลีบใหญ่ ร่องตื้น มีเนื้อแข็งกรอบ สีออกแดงส้ม ขอบกลีบมีฟองอากาศเห็นได้ชัด รสหวานอมเปรี้ยวเข้มข้นกว่า บี 10 เหมาะสำหรับรับประทานผลสด |
+ พันธุ์ลูกผสมต่างๆ |
หรือพันธุ์ที่เกิดจากการเพาะเมล็ด บี 10 และ บี 17 ซึ่งอยู่ระหว่างทดลอง พันธุ์ยังมีอีกมาก |
|
|
|
ใบ แก้ไข้หวัด ปัสสาวะขัด แก้ปวด มีคำแนะนำให้ใช้ใบยอดของมะเฟือง รากหมาก และรากมะพร้าว มาต้มผสมกัน นำน้ำที่ได้มาดื่มใช้รักษาไข้หวัดใหญ่ นอกจากนี้ยังแนะนำให้ใช้ใบมะเฟื่องมาต้มน้ำอาบ เพื่อแก้ตุ่มคัน แก้เจ็บเส้นเอ็น ได้อีกด้วย |
|
ใบและยอด นำมาบดละเอียด ใช้ทาตามตัวแก้อีสุกอีใส |
|
ดอก นำดอกมะเฟื่องมาต้มกับน้ำ น้ำที่ได้นำมาดื่มใช้ถอนพิษเฮโรอีน และแก้ไข้ |
|
ผล รับประทานสดใช้แก้คอแห้ง ลดการอักเสบ บวม แก้อาเจียน ขับปัสสาวะ และขับนิ่ว แก้บิด ขับระดู (ไม่ควรรับประทานประจำหรือบ่อยเกินไป) ใช้สระผมได้ดี บำรุงเส้นผม กำจัดรังแค |
|
เมล็ด ใช้แก้ปวด ทำให้นอนหลับ ทำให้อาเจียน แก้ดีซ่าน |
|
ราก ใช้ดับพิษร้อน แก้ไข้ แก้ปวดศีรษะ แก้กระเพาะอาหารอักเสษ ลดอาการจุกแน่นหน้าอก สูตรที่ใช้ รากมะเฟื่องตากแห้ง 5 กรัม ชงกับน้ำร้อน 1 ถ้วยกาแฟ แล้วดื่มก่อนอาหารเช้า-เย็น |
|
แก่นและราก ต้มกินแก้ท้องร่วง แก้เจ็บเส้นเอ็น |
|
ยอด ต้มผสมกับรากมะพร้าว ดื่มแก้ไข้หวัดใหญ่ |
|
ในตำรายาจีน
|
มีการใช้ผลมะเฟืองเพื่อช่วยลดไข้ ล้างพิษ |
|
สำหรับแก้เครียดนั้นมีสูตรดังนี้ ใช้มะเฟือง 2 ผล รับประทานวันละ 2 ครั้ง เช้าและก่อนนอน |
|
แก้นิ่วในไต มีคำแนะนำให้ใช้เนื้อมะเฟือง 3 ผล ต้มกับน้ำผึ้ง 2 ช้อนชา แล้วนำมารับประทานทั้งเนื้อและน้ำ วันละครั้งสามารถใช้รักษานิ่วในไตได้ |
|
บำรุงรักษาเส้นผม มีคำแนะนำให้ใช้ผลมะเฟื่องในการสระบำรุงเส้นผม ขจัดรังแค |
|
|
น้ำมะเฟือง
ส่วนผสม |
1. มะเฟืองหั่น 40 กรัม (1 ผลเล็ก) 2. น้ำเชื่อม 30 กรัม (2 ช้อนคาว) 3. เกลือป่นเสริมไอโอดีน 1 กรัม 1/5 ช้อนชา 4. น้ำต้ม 200 ซีซี. |
วิธีทำ |
1. ล้างมะเฟืองที่แก่จัดให้สะอาด หั่น แกะเมล็ดออกแล้วนำใส่เครื่องปั่น 2. เติมน้ำสุกปั่นละเอียด แล้วเติมน้ำเชื่อม เกลือ ชิมดูรสตามใจชอบ 3. ถ้าต้องการเก็บไว้ดื่ม ให้ตั้งไฟให้เดือด 3-5 นาที กรอกใส่ขวดนึ่ง 20-30 นาที เย็นแล้วแช่ในตู้เย็น จะได้น้ำมะเฟืองสีเหลืองอ่อนๆ ดื่มแล้วชื่นใจ |
หมายเหตุ |
ข้อควรระวังคือ ห้ามรับประทานมะเฟื่องขณะมีประจำเดือน ตกขาว หรือรับประทานขณะตั้งครรภ์ เพราะอาจจะทำให้แท้งได้ |
|
|
เอกสารอ้างอิง: |
1. |
บทความวิทยุรายการสาระความรู้ทางการเกษตร เรื่อง พืชผักผลไม้ไทยมีคุณค่าเป็นทั้งอาหารและยา ตอน “มะเฟือง” ประจำวันจันทร์ที่ 15 ธันวาคม 2546 ดวงจันทร์ เกรียงสุวรรณ นักวิชาการเกษตร 6 คณะทรัพยากรธรรมชาติ งานศูนย์บริการวิชาการและฝึกอบรม ผ่ายวิจัยและบริการวิชาการ คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ |
2. |
http://www.archeep.com/drink/drk_pine_punch5.htm |
3. |
Tem Samitinand. Thai Plant Names. Revised Edition 2001. 810 p. |
|
รวบรวมโดย: |
นพพล เกตุประสาท หน่วยอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พืชพรรณ ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ.นครปฐม |
|