ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง
Central Laboratory and Greenhouse Complex
ทรัพยากรพืชพรรณฯ
 
สตรอว์เบอร์รี
 
สตรอว์เบอร์รี
การจัดลำดับชั้นทางพฤกษศาสตร์:
อันดับ Rosales
วงศ์ ROSACEAE
วงศ์ย่อย ROSOIDEAE
เผ่า Potentilleae
เผ่าย่อย Fragariinae
สกุล Fragaria
ชื่อวิทยาศาสตร์: Fragaria x ananassa Duchesne
ลักษณะทั่วไป: สตรอว์เบอร์รีเป็นพืชที่เจริญเติบโตคลุมไปบนผิวหน้าดินตื้นๆ แตกไหลเจริญเป็นต้นใหม่แผ่ขยายออกไปเรื่อยๆ หากหน้าดินมีอินทรียวัตถุสูง มีความชุ่มชื้นมากแต่ไม่แฉะ พืชจะเจริญเติบโตได้ดีมาก ควรได้รับแสงแดดตลอดทั้งวัน อากาศแบบอบอุ่น ไม่ชอบอากาศร้อนมากๆ พันธุ์สตรอว์เบอร์รีที่ปลูกอยู่ในประเทศไทยส่วนใหญ่พัฒนาโดยการคัดเลือกพันธุ์ พื้นที่ทดลองคัดพันธุ์มักเป็นพื้นที่ทางภาคเหนือของประเทศไทย และพื้นที่บนภูเขาที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลมากๆ ต้นไหนที่มีการเจริญเติบโตให้ผลผลิตได้ดี จะถูกคัดเลือกและเพื่มจำนวนต้นกระจายปลูกเพื่อเป็นพืชเศรษฐกิจ

พื้นที่ อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม ก็สามารถปลูกสตรอว์เบอร์รีให้ออกดอกติดเป็นผลรับประทานได้ และทำเป็นไม้ประดับกระถางได้ ข้อมูลเบื้องต้นจากการปลูกในพื้นที่ด้วยการคัดเลือกต้นที่สามารถปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมและให้ผลผลิตได้ อาจนำไปสู่การปลูกเพื่อเป็นอาชีพทางเลือกได้อีกพืชหนึ่ง
พันธุ์ที่ทดลองปลูก:
1. พันธุ์พระราชทาน 80
เป็นพันธุ์ที่มูลนิธิโครงการหลวงส่งเสริมให้ปลูกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552 เป็นสายพันธุ์ที่มาจากประเทศญี่ปุ่น ชื่อพันธุ์ Royal Queen นิยมปลูกกันมากในปัจจุบัน ปลูกได้หลายท้องที่ในภาคกลางที่มีอากาศเย็นสบาย เช่น จ.อุทัยธานี กาญจนบุรี ปราจีนบุรี และในพื้นที่ อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม เจริญเติบโตได้ดี ให้ผลผลิตได้ แต่ผลมีขนาดเล็กลง
สตรอว์เบอร์รี พันธุ์พระราชทาน 80 สตรอว์เบอร์รี พันธุ์พระราชทาน 80 สตรอว์เบอร์รี พันธุ์พระราชทาน 80
สตรอว์เบอร์รี พันธุ์พระราชทาน 80 สตรอว์เบอร์รี พันธุ์พระราชทาน 80 สตรอว์เบอร์รี พันธุ์พระราชทาน 80
สตรอว์เบอร์รี พันธุ์พระราชทาน 80 สตรอว์เบอร์รี พันธุ์พระราชทาน 80 สตรอว์เบอร์รี พันธุ์พระราชทาน 80

2. พันธุ์นำมาจากต่างประทศ (SW59P)
นำมาจากต่างประเทศ ปลูกในพื้นที่ อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม เจริญเติบโตได้ดี ดอกสีชมพู ออกดอกดก ให้ผลผลิตได้ ผลเล็กลง
สตรอว์เบอร์รี พันธุ์นำมาจากต่างประทศ (SW59P) สตรอว์เบอร์รี พันธุ์นำมาจากต่างประทศ (SW59P) สตรอว์เบอร์รี พันธุ์นำมาจากต่างประทศ (SW59P)
สรุป: สตรอว์เบอร์รีทั้งสองชนิดเจริญเติบโตได้ ให้ผลผลิตได้ ต้องผสมพันธุ์และคัดเลือกเพื่อเป็นไม้ประดับกระถางและรับประทานได้ต่อไป
เอกสารอ้างอิง:
1. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย เต็ม สมิตินันทน์ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2544. พิมพ์ครั้งที่ 2. บริษัท ประชาชน จำกัด. 2543. กทม.
2. http://www.okmagazine-thai.com Mens Health Thailand, 10 สายพันธุ์ "สตรอว์เบอร์รี่ พระราชทาน" และพันธุ์อื่นๆ ที่เป็นที่นิยมในไทย. เผยแพร่ 23 กุมภาพันธ์ 2560.
3. https://th.wikipedia.org/wiki/สตรอว์เบอร์รี
รวบรวมโดย: ไพร มัทธวรัตน์
หน่วยอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พืชพรรณ ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง
คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ.นครปฐม