|
มะยม |
ชื่ออื่นๆ: |
หมักยม หมากยม ยม |
ชื่อสามัญ: |
Star gooseberry |
ชื่อวิทยาศาสตร์: |
Phyllanthus acidus Skeels. |
วงศ์: |
EUPHOBIACEAE |
ถิ่นกำเนิด: |
เขตร้อนของทวีปแอฟริกา |
ลักษณะทั่วไป: |
ไม้พุ่มโปร่งขนาดกลาง เจริญเติบโตช้า |
ฤดูการออกดอก: |
ต้นฤดูฝน (ปลาย เม.ย. – พ.ค.) |
การขยายพันธุ์: |
|
การตอน เป็นวิธีการที่เหมาะสมที่สุด จากการทดลองตอนต้นขนาดใหญ่อายุประมาณ 10 ปียังสามารถออกรากได้ และออกดอก ติดผลได้ในปีแรกหลังการปลูกกิ่งตอน |
|
การเพาะเมล็ด เป็นวิธีการที่ทำได้ง่าย แต่ต้องใช้เวลาในการให้ผลผลิตยาวนานกว่าการตอน |
|
ข้อดีของพันธุ์ไม้: |
เป็นผลไม้ที่สามารถใช้ประโยชน์ได้หลายทาง เช่น การรับประทานผลสด ผลแห้ง การแช่อิ่ม |
ข้อแนะนำ: |
มะยมเป็นพันธุ์ไม้ที่มีใบร่วงมาก ในพื้นที่ที่ต้องการความสะอาดมากจึงไม่ควรปลูก |
ข้อมูลอื่นๆ: |
|
ราก รสจืด แก้โรคผิวหนัง ผดผื่นคัน ช่วยซับน้ำเหลืองให้แห้ง ประดง ดับพิษเสมหะ |
|
เปลือกต้น รสจืด สรรพคุณแก้ไข้ทับระดู ระดูทับไข้ และแก้เม็ดผดผื่นคัน |
|
ใบ รสจืดมัน ปรุงเป็นส่วนประของยาเขียว สรรพคุณแก้ไข้ ดับพิษไข้ บำรุงประสาท ต้มร่วมกับใบหมากผู้หมากเมียและใบมะเฟืองอาบแก้คัน ไข้หัด เหือด และสุกใส |
|
ดอก ดอกสดใช้ต้มกรองเอาน้ำแก้โรคในตา ชำระล้างในตา |
|
ผล รสเปรี้ยวสุขุม กัดเสมหะ แก้ไอ บำรุงโลหิต และระบายท้อง |
|
การทำมะยมเชื่อม ดูที่ http://www.eto.ku.ac.th/neweto/e-book/other/t_food.pdf |
|
มีความเชื่อว่า มะยมเป็นต้นไม้ที่ควรปลูกไว้ทางทิศตะวันตก (ประจิม) เพื่อป้องกันความถ่อย และผีร้ายมิให้มากล้ำกราย ในบางตำราก็ว่า เป็นต้นไม้ที่มีชื่อเป็นมงคลนาม ปลูกแล้วผู้คนจะได้นิยมเหมือนมีนะเมตตา มหานิยม |
|
เอกสารอ้างอิง: |
|
รวบรวมโดย: |
นพพล เกตุประสาท หน่วยอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พืชพรรณ ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ.นครปฐม |
|