ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง
Central Laboratory and Greenhouse Complex
ทรัพยากรพืชพรรณฯ
 
หญ้าพันงูขาว
 
หญ้าพันงูขาว
ชื่ออื่นๆ: หญ้าพันงู หญ้าพันงูเขา หญ้าตีนงูขาว ควยงู หญ้าโคยงู
ชื่อสามัญ: Prickly chaff-flower
ชื่อวิทยาศาสตร์: Achyranthes aspera Linn.
วงศ์: AMARANTHACEAE
ลักษณะพฤษศาสตร์: ไม้ล้มลุกอายุหลายปี สูงประมาณ 30 - 100 ซม. หรือมากกว่า แตกกิ่งก้านเป็นคู่ๆ และสามารถทอดกิ่งนอนไปตามพื้นดินแล้วเกิดรากบริเวณข้อได้ ใบเดี่ยวรูปรีแกมขอบขนานหรือไข่กลับ ปลายใบเรียวแหลมถึงกลม โคนสอบแคบมน ผิวใบมีขนสั้นละเอียดสีขาวนุ่มเกาะติดจำนวนมาก ดอกออกเป็นช่อยาวที่ปลายกิ่ง ดอกย่อยเกาะติดห้อยหัวแนบกับก้านช่อ และมีจำนวนมาก ดอกย่อยมีกลีบเลี้ยงที่ส่วนปลายเป็นหนามแหลมแข็ง ผลมีผิวเรียบรูปทรงกระบอกปลายตัด เมล็ดรูปทรงกระบอกรีหัวและท้ายเรียว ผิวเรียบสีน้ำตาลเหลือง
สรรพคุณด้านสมุนไพร:
ทั้งต้น ช่วยย่อยอาหาร แก้ริดสีดวงทวาร แก้ปวดเอว แก้ปวดเมื่อยจากโรคไขข้ออักเสบ
ราก ทำให้เลือดไหลเวียนคล่อง ลดบวมน้ำ ขับปัสสาวะเป็นเลือด แก้ประจำเดือนไม่มาตามปกติ ปวดข้อ บิด มาลาเรีย
ต้น ขับประจำเดือน แก้ขัดเบา ขับปัสสาวะ
ใบ แก้โรคในลำคอ แก้คออักเสบเป็นเม็ดยอดในคอ แก้โรคในลำคอเป็นเม็ดเป็นตุ่ม
ดอก แก้เสมหะที่คั่งค้างในทรวงอก ละลายก้อนนิ่ว แก้สะอึก แก้แมลงสัตว์กัดต่อย
ผล ทำให้อาเจียน
เอกสารอ้างอิง:
1. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้.  ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย เต็ม สมิตินันทน์ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2544.  ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้ พิมพ์ครั้งที่ 2 (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม).  พิมพ์ที่ บริษัทประชาชน จำกัด.  2544.
รวบรวมโดย: ไพร มัทธวรัตน์
หน่วยอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พืชพรรณ ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง
คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ.นครปฐม