ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง
Central Laboratory and Greenhouse Complex
ทรัพยากรพืชพรรณฯ
 
ดอกน้อยหน่า
ผลน้อยหน่า ผลน้อยหน่า เมล็ดน้อยหน่า
 
น้อยหน่า
ชื่ออื่นๆ: ลาหนัง (ภาคใต้)  มะนอแน่ (ภาคเหนือ)  หมักเขียบ (อีสาน)
ชื่อวิทยาศาสตร์: Annona squamosal L.
ลักษณะทางพฤษศาสตร์: เป็นไม้ยืนต้น พบได้ทั่วไปในทุกภาคของประเทศไทยและเพื่อนบ้าน สูงประมาณ 3 เมตร แตกกิ่งก้านสาขามาก เจริญเติบโตได้ทั้งที่มีแสงแดดจัดและแทรกตามทรงพุ่มไม้อื่นๆ จะเกิดดอกติดผลเมื่อพืชพลัดใบแล้วแตกยอดอ่อนใหม่ พืชจึงสามารถให้ผลได้มากกว่า 2 ครั้งในหนึ่งปี หรือเมื่อต้นพืชมีความสมบูรณ์ ผลมีลักษณะเป็นทรงกลมหลายขนาดขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ ผิวผลมีสีเขียวและสีม่วงนูนขึ้นเป็นตารางสี่เหลี่ยมเรียวหรือหยดน้ำเรียว เนื้อผลสีขาวรับประทานได้มีรสหวานจัด เมล็ดจำนวนมาก แข็งผิวเรียบสีดำเป็นมันเงา
การใช้ประโยชน์:
bt01 ใบ นำมาตำผสมกับเหล้าขาวพอกหัวเอาผ้าพันปิดไว้สักครึ่งชั่วโมงจึงล้างออก ช่วยกำจัดเหาได้
bt01 เมล็ด ตำละเอียดและตำผสมกับใบแล้วใช้เหล้าขาวคลุกเคล้าให้เข้ากัน ทาตามผิวหนังสัตว์เลี้ยง เช่น หมา แมว วัว ควาย ช่วยกำจัดเห็บหมัดได้
bt01 ผลแห้ง ที่แห้งติดคาต้นนำมาฝนในฝาละมีดินเผา เจือด้วยน้ำผสมกับสารส้มเล็กน้อย ทาผิวหนังแก้โรคเริมและงูสวัด
เอกสารอ้างอิง:
1. ส่วนพฤษศาสตร์ป่าไม้.  ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย เต็ม สมิตินันทน์.  ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม. 2544.  สำนักงานวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้ พิมพ์ที่บริษัทประชาชน จำกัด
2. https://th.wikipedia.org/wiki/น้อยหน่า  วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
3. https://medthai.com  น้อยหน่า เรียบเรียงข้อมูลโดยเว็บไซต์เมดไทย (Medthai)
รวบรวมโดย: ไพร มัทธวรัตน์
หน่วยอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พืชพรรณ ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง
คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ.นครปฐม