|
ทุเรียนเทศ |
ชื่ออื่นๆ: |
ทุเรียนน้ำ ทุเรียนแขก หมักเขียบหลด |
ชื่อสามัญ: |
Soursop, Prickly custard apple |
ชื่อวิทยาศาสตร์: |
Annona muricata L. |
ลักษณะทางพฤษศาสตร์: |
เป็นพืชยืนต้นสูงได้ถึง 10 เมตร แตกกิ่งก้านสาขาจำนวนมาก ใบสีเขียวเข้มเป็นมันเงา ไม่พลัดใบเป็นร่มเงาได้ดี ออกดอกตามกิ่งก้านและลำต้นตลอดทั้งปีหากพืชมีความสมบูรณ์มากๆ ผลสีเขียว เปลือกผลมีติ่งหนามอ่อนนุ่มรูปสามเหลี่ยมขนาดไม่แน่นอนทั่วทั้งผล ผลสุกรับประทานได้รสหวานอมเปรี้ยว
|
การใช้ประโยชน์: |
|
ใบสด แก้ท้องอืดเฟ้อ โดยการตำใบให้แหลกแล้วผสมด้วยน้ำปูนใสเล็กน้อยให้จับตัวเป็นแผ่นได้ ปิดบริเวณท้อง |
|
ใบแห้ง นำมาผึ่งลมให้แห้ง แช่ในน้ำร้อน (แบบใบชา) 1 ใบต่อแก้ว ดื่มแก้ท้องอืดเฟ้อได้ |
|
ใบสด ล้างสะอาด วางไว้ใต้หมอน กลิ่นของใบจะช่วยให้นอนหลับสบาย |
|
เปลือกต้น ตากแห้ง แช่ในน้ำร้อน ดื่มแก้ท้องอืดเฟ้อได้ |
|
หมายเหตุ: |
มีรายงานการพบสารที่มีผลต่อร่างกายในทางเป็นโทษหากร่างกายได้รับต่อเนื่องและเป็นระยะยาวนาน ผู้ใช้ควรศึกษาหาข้อมูลเพิ่มเติม |
เอกสารอ้างอิง: |
1. |
ส่วนพฤษศาสตร์ป่าไม้. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย เต็ม สมิตินันทน์. ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม. 2544. สำนักงานวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้ พิมพ์ที่บริษัทประชาชน จำกัด |
2. |
https://th.wikipedia.org/wiki/ทุเรียนเทศ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี |
3. |
https://medthai.com ทุเรียนเทศ เรียบเรียงข้อมูลโดยเว็บไซต์เมดไทย (Medthai) |
|
รวบรวมโดย: |
ไพร มัทธวรัตน์ หน่วยอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พืชพรรณ ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ.นครปฐม |
|