|
ตำลึง |
ชื่ออื่นๆ: |
ผักแคบ แคเด๊าะ |
ชื่อสามัญ: |
Ivy gourd |
ชื่อวิทยาศาสตร์: |
Coccinia grandis (L.) Voigt. |
วงศ์: |
CUCURBITACEAE |
ถิ่นกำเนิด: |
เขตร้อนชื้น |
ลักษณะพฤษศาสตร์: |
ไม้เถาล้มลุกอายุหลายปี เถาแก่ของตำลึงจะใหญ่และแข็ง เถาตำลึงจะมีลักษณะกลม สีเขียว ตามข้อมีหนวดเอาไว้ยึดเกาะ ใบเป็นใบเดี่ยวออกแบบสลับ ใบรูปร่างคล้าย 5 เหลี่ยม ขอบใบเว้าเล็กน้อย บางครั้งจะเว้ามาก ใบสีเขียวเรียบไม่มีขน ดอกเป็นดอกเดี่ยวออกจากบริเวณซอกใบ ดอกแยกเพศกันอยู่คนละต้น ดอกมีกลีบสีเขียว ปลายดอกแยกออกเป็น 5 แฉก โคนตัดกันเป็นกรวย กลีบดอกสีขาว เกสรตัวผู้มี 3 อัน เกสรตัวเมียมี 1 อัน ผลรูปร่างกลมรีคล้ายแตงแต่เล็กกว่า ผลดิบสีเขียว เมื่อแก่สุกจัดมีสีแดง |
สรรพคุณด้านสมุนไพร: |
|
ใบ รสเย็น สรรพคุณดับพิษร้อนถอนพิษ แก้แสบคัน แก้เจ็บตา ตาแดง ตาแฉะ ป้องกันโลหิตจาง และเลือดออกตามไรฟัน |
|
ราก รสเย็น สรรพคุณดับพิษ รักษาโรคตา |
|
เถา รสเย็น สรรพคุณรักษาโรคตาเจ็บ ถอนพิษ |
|
ทั้งต้น รสเย็น สรรพคุณแก้โรคผิวหนัง โรคมะเร็ง โรคหัวใจ และลดน้ำตาลในเลือด |
|
เอกสารอ้างอิง: |
1. |
ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย เต็ม สมิตินันทน์ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2544. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้ พิมพ์ครั้งที่ 2 (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม). พิมพ์ที่ บริษัทประชาชน จำกัด. 2544. |
|
รวบรวมโดย: |
ไพร มัทธวรัตน์ หน่วยอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พืชพรรณ ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ.นครปฐม |
|