|
เอื้องหมายนา |
ชื่ออื่นๆ: |
ชู้ไลบ้อง ซูเลโบ เอื้องช้าง เอื้องต้น เอื้องเพ็ดม้า เอื้องใหญ่ |
ชื่อสามัญ: |
Spiral flag, Wild ginger, Crepe ginger, Malay ginger |
ชื่อวิทยาศาสตร์: |
Costus speciosus Smith |
วงศ์: |
ZINGIBERACEAE |
ถิ่นกำเนิด: |
อินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ถึงนิวกินี |
ลักษณะพฤษศาสตร์: |
เป็นพืชมีหัวใต้ดิน ลำต้นแข็งกลมอวบน้ำสูงประมาณ 1.5 - 2.5 ม. ใบเป็นใบเดี่ยวเกาะติดบนกิ่งแบบเวียน ใบรูปรียาว ปลายใบเรียวแหลมโคนมน และมีกาบหุ้มรอบลำต้น ผิวใบด้านบนเรียบ ด้านใต้มีขนขนาดเล็กสีขาวอ่อนนุ่ม ดอกออกเป็นช่อที่ปลายยอด ดอกย่อยสีขาว กลีบดอกติดกันเป็นหลอด ขอบกลีบย่นเป็นคลื่น กลีบประดับสีแดง ผลกลมรีรูปกระสวยส่วนปลายมีกลีบประดับติดอยู่ เมล็ดรูปเหลี่ยมสีดำเป็นมันเงา |
สรรพคุณด้านสมุนไพร: |
|
เหง้า ใช้ขับปัสสาวะ เป็นยาถ่าย แก้ตกขาว บวมน้ำ ฆ่าพยาธิ รักษาโรคติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ แผลอักเสบบวมมีหนอง ฆ่าพยาธิและทำให้แท้ง |
|
ราก เป็นยาขม ขับเสมหะ พยาธิ โรคผิวหนัง แก้ไอ |
|
น้ำคั้น เป็นยาระบาย รับประทานกับพลู แก้ไอ ใบแก้ไข้ |
|
เหง้าสด รสฉุน เย็นจัด มีพิษมาก สารชื่อ diosgenin ใช้สังเคราะห์สเตอรอยด์ฮอร์โมน กินมากทำให้อาเจียน ท้องร่วงรุนแรง และทำให้แท้ง |
|
ในมาเลเซีย อินเดีย และฟิลิปปินส์ใช้หน่ออ่อนใส่แกง เป็นผัก |
|
เอกสารอ้างอิง: |
1. |
ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย เต็ม สมิตินันทน์ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2544. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้ พิมพ์ครั้งที่ 2 (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม). พิมพ์ที่ บริษัทประชาชน จำกัด. 2544. |
|
รวบรวมโดย: |
ไพร มัทธวรัตน์ หน่วยอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พืชพรรณ ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ.นครปฐม |
|