ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง
Central Laboratory and Greenhouse Complex
ทรัพยากรพืชพรรณฯ
 
มะขวิด มะขวิด มะขวิด
มะขวิด มะขวิด มะขวิด
มะขวิด มะขวิด มะขวิด
 
มะขวิด
ลักษณะทางพฤษศาสตร์: เป็นไม้ยืนต้นสูงได้ถึง 10 ม. เป็นไม้พลัดใบในช่วงเดือนมกราคมถึงกุมภาพันธ์ แล้วออกดอกเป็นช่อกระจุกที่ตายหรือที่ยอดที่แตกใหม่ การพัฒนาของผลใช้เวลานาน 9 ถึง 11 เดือน ผลใช้บริโภคได้ทั้งผลใกล้สุกและผลสุก ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ มีใบย่อย 5-7 ใบ ออกเป็นกระจุกตามข้อและสลับกันไปตามกิ่ง ใบย่อยรูปรีแกมไข่กลับยาวประมาณ 3-4 ซม. ใบมีต่อมน้ำมันหอมเป็นจุดทั่วทั้งใบ ดอกย่อยเมื่อบานเต็มที่ขนาด 2-2.5 ซม. กลีบดอก 6 กลีบสีเหลืองอ่อนแต้มชมพู เกสรตัวผู้ มี 10-12 อัน ก้านชูเกสรส่วนโคนเชื่อมติดกัน อับละอองอวบอ้วนสีส้มแกมม่วง เกสรตัวเมีย 1 อัน รังไข่แบบเหนือชั้นวงกลีบ ยอดชูเกสรตัวเมียอ้วนใหญ่ทรงกระบอกปลายมนสีเขียว ผลเมื่อแก่มีขนาด 8-10 ซม. รับประทานได้ เมล็ดมีจำนวนมาก
การใช้ประโยชน์:
bt01 ผล รับประทานแบบผลไม้ทั้งใกล้สุกและสุก ช่วยรักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน แก้ท้องเสีย บำรุงร่างกายช่วยให้เจริญอาหาร
bt01 ใบ ขับลมในกระเพาะอาหาร ตำพอกแก้ฟกบวมและฆ่าพยาธิผิวหนัง
เอกสารอ้างอิง:
1. https://medthai.com เรียบเรียงข้อมูลโดยเว็บไซต์เมดไทย (MedThai)
2. วุฒิ วุฒิธรรมเวช. 2540. พิมพ์ครั้งที่ 2. ร่วมอนุรักษ์มรดกไทย เภสัชกรรมไทย รวมสมุนไพร ฉบับปรับปรุงใหม่. โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮ้าส์ กทม.
รวบรวมโดย: ไพร มัทธวรัตน์
หน่วยอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พืชพรรณ ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง
คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ.นครปฐม