ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง
Central Laboratory and Greenhouse Complex
ทรัพยากรพืชพรรณฯ
 
กระเจี๊ยบแดง
 
กระเจี๊ยบแดง
ชื่ออื่นๆ: กระเจี๊ยบ กระเจี๊ยบเปรี้ยว ผักเก็งเค็ง ส้มเก็งเค็ง ส้มตะเลงเครง ส้มปู ส้มพอ
ชื่อสามัญ: Jamaica sorrel, Roselle, Red sorrel, Rozelle
ชื่อวิทยาศาสตร์: Hibiscus sabdariffa L.
วงศ์: MALVACEAE
ลักษณะพฤษศาสตร์: ไม้ล้มลุก สูงประมาณ 1 - 3 ม. เปลือกต้นสีเทาปนแดงเหนียว ใบเป็นใบเดี่ยว การเกาะติดของใบบนกิ่งแบบสลับ รูปแบบนิ้วมือ ขนาดประมาณ 3x7 ซม. โดยใบหยักลึก 3 - 5 ปลายยอดแหลม โคนใบมนกว้าง ขอบใบหยักแบบฟันเลื้อย ก้านใบสีแดงยาว ดอกออกเดี่ยวเป็นกระจุก 1 - 3 ดอกที่ซอกใบบริเวณปลายยอด ดอกสีขาวนวล และชมพูแดง กลีบดอกมี 5 กลีบ แต่ละกลีบเป็นอิสระจากกัน กลีบเลี้ยงสีแดงสด แบ่งเป็น 2 ชั้น ชั้นในมีเนื้อกลีบส่วนโคนเชื่อมติดกัน กลีบชั้นนอกเรียวแหลม 8 - 12 กลีบ ผลทรงกลมปลายแหลม ผิวผลมีขนขนาดเล็กสีขาวเกาะติดหนาแน่น เมล็ดทรงกลม สีน้ำตาลดำ มีจำนวนมาก
สรรพคุณด้านสมุนไพร:
bt01 กลีบเลี้ยงของดอก ต้มน้ำดื่ม
bt01 ใบและยอดอ่อน เป็นเครื่องปรุงให้รสเปรี้ยว และรับประทานสด
bt01 เมล็ด เป็นยาบำรุงกำลัง ยาระบาย ยาขับปัสสาวะ
bt01 เป็นยาลดไขมันในเส้นเลือด และช่วยลดน้ำหนักด้วย
bt01 ลดความดันโลหิตได้โดยไม่มีผลข้างเคียง ลดอุณหภูมิในร่างกาย
bt01 น้ำกระเจี๊ยบทำให้ความเหนียวข้นของเลือดลดลง บำรุงโลหิต
bt01 แก้อ่อนเพลีย บำรุงกำลัง บำรุงธาตุ แก้ดีพิการ
bt01 แก้ปัสสาวะขัด
bt01 แก้คอแห้งกระหายน้ำ กัดเสมหะ แก้ไอ
เอกสารอ้างอิง:
1. http://www.medplant.mahidol.ac.th/pubhealth/..%5Cpubhealth%5Chibiscus.html
2. http://www.bcdherbs.com/mcontents/marticle.php?headtitle=mcontents&id=38153&Ntype=3
3. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้.  ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย เต็ม สมิตินันทน์ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2544.  ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้ พิมพ์ครั้งที่ 2 (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม).  พิมพ์ที่ บริษัทประชาชน จำกัด.  2544
รวบรวมโดย: ไพร มัทธวรัตน์
หน่วยอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พืชพรรณ ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง
คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ.นครปฐม