ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง
Central Laboratory and Greenhouse Complex
ทรัพยากรพืชพรรณฯ
 
ผักบุ้งไทย ผักบุ้งไทย ผักบุ้งไทย
 
ผักบุ้งไทย
ชื่ออื่นๆ: ผักทอดยอด ผักบุ้ง ผักบุ้งแดง ผักบุ้งนา กำจร โหนเดาะ
ชื่อสามัญ: Swamp cabbge, Swamp cabbage white stem, Water morning glory
ชื่อวิทยาศาสตร์: Ipomoea aquatica Forsk.
วงศ์: CONVOLVULACEAE
ถิ่นกำเนิด: ประเทศไทย
ลักษณะทั่วไป: ไม้ล้มลุกมีข้อโปร่งเลื้อยแผ่ไปตามพื้นหรือผิวน้ำ
การขยายพันธุ์: เพาะเมล็ด  ลำต้นแก่มีรากติด
ข้อมูลอื่นๆ:
ดอก ใช้เป็นยาแก้กลากเกลื้อน  ต้นสด ใช้ดับพิษ รักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ลดอาการแพ้ อักเสบ ปวด บวม บำรุงสายตา บำรุงเลือด บำรุงกระดูกและฟัน ช่วยรักษาโรคเบาหวาน เป็นยาดับร้อน แก้ปัสสาวะเหลือง
ทั้งต้น ใช้แก้ปวดหัว อ่อนเพลีย แก้กลาก เกลื้อน แก้เบาหวาน แก้ตาอักเสบ บำรุงสายตา แก้เหงือกบวม แก้ฟกช้ำ ถอนพิษ
ใบ ใช้ถอนพิษแมลงสัตว์กัดต่อย นำใบสดตำ คั้นเอาน้ำมาดื่ม จะทำให้อาเจียน ถอนพิษยาเบื่อเมา แก้พิษของฝิ่นและสารหนู มีวิตามินเอสูง เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ
ราก ใช้แก้ไอเรื้อรัง และแก้โรคหืด ถอนพิษผิดสำแดง ใช้แก้สตรีมีตกขาวมาก เบาขัด เหงื่อออกมาก ลดอาการบวม
ในผักบุ้งขาว 100 กรัม ให้พลังงานต่อร่างกาย 22 กิโลแคลอรี่ และยังประกอบด้วยเส้นใย 101 กรัม แคลเซียม 3 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 22 มิลลิกรัม เหล็ก 3 มิลลิกรัม วิตามินเอ 11,447 IU วิตามินบีหนึ่ง 0.06 มิลลิกรัม วิตามินบีสอง 0.17 มิลลิกรัม ไนอาซิน 1.3 มิลลิกรัม วิตามินซี 14 มิลลิกรัม และมีสารต้านฮีสตามีน
ผักบุ้งไทยจะมีสรรพคุณทางยามากกว่าผักบุ้งชนิดอื่น ผักบุ้งจีนจะมีแคลเซี่ยม และเบต้า - แคโรทีน มากกว่าผักบุ้งชนิดอื่น
เอกสารอ้างอิง
1. บทความวิทยุรายการสาระความรู้ทางการเกษตร เรื่อง พืชผักผลไม้ไทยมีคุณค่าเป็นทั้งอาหารและยา  ประจำวันจันทร์ที่ 30 มิถุนายน 2546  ดวงจันทร์ เกรียงสุวรรณ  นักวิชาการเกษตร 6  คณะทรัพยากรธรรมชาติ  งานศูนย์บริการวิชาการและฝึกอบรม  ผ่ายวิจัยและบริการวิชาการ  คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตหาดใหญ่
2. Tem Samitinand.  Thai Plant Names.  Revised Edition 2001.  810 p.
รวบรวมโดย: นพพล เกตุประสาท
หน่วยอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พืชพรรณ ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง
คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ.นครปฐม