ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง
Central Laboratory and Greenhouse Complex
ทรัพยากรพืชพรรณฯ
 
เพกา เพกา
 
เพกา
ชื่ออื่นๆ: มะลิ้นไม้ มะลิดไม้ ลิ้นไม้ ลิ้นฟ้า เบโก หมากลิ้นช้าง
ชื่อสามัญ: Midnight horror
ชื่อวิทยาศาสตร์: Oroxylum indicum (L.) Kurz.
วงศ์: BIGNONIACEAE
ถิ่นกำเนิด: เขตร้อนชื้น
ลักษณะพฤษศาสตร์: ไม้ยืนต้นผลัดใบ ลำต้นสูงชะลูดประมาณ 5 - 20 ม. เปลือกต้นเรียบสีเทา และมีรอยแผลเป็นที่เกิดจากการหลุดร่วงของใบ การแตกกิ่งก้านสาขามีไม่มาก แตกใบที่ปลายยอด ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกสามชั้น ใบย่อยรูปไข่ ปลายแหลม โคนมน ขอบและผิวใบเรียบ ดอกออกเป็นช่อที่ปลายยอด ก้านช่อดอกใหญ่ แข็ง และยาวมาก ดอกย่อยสีชมพูแกมม่วงเข้ม ผลเป็นฝักแบนขนาดประมาณ 10x50 ซม. เมล็ดรูปไตแบน มีปีกสีขาวบางล้อมรอบ
สรรพคุณด้านสมุนไพร:
ฝักอ่อน รสขมร้อน ขับผายลม
ฝักแก่ รสขม แก้ร้อนในกระหายน้ำ
เมล็ดแก่ รสขม ระบายท้อง แก้ไอ ขับเสมหะ
เปลือกต้น รสฝาดเย็น สมานแผล ดับพิษกาฬ แก้ร้อนใน แก้ท้องร่วง
ราก รสฝาดขม บำรุงธาตุ ทำให้เกิดน้ำย่อยอาหาร แก้ท้องร่วง
ทั้ง 5 อย่าง รสฝาดขมเย็น สมานแผล แก้อักเสบฟกบวม แก้ท้องร่วง แก้น้ำเหลืองเสีย
เอกสารอ้างอิง:
1. http://kanchanapisek.or.th/kp8/lpa/lpa711.html
2. http://www.phuketjettour.com/herbs/paka.htm
3. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้.  ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย เต็ม สมิตินันทน์ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2544.  ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้ พิมพ์ครั้งที่ 2 (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม).  พิมพ์ที่ บริษัทประชาชน จำกัด.  2544.
รวบรวมโดย: ไพร มัทธวรัตน์
หน่วยอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พืชพรรณ ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง
คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ.นครปฐม