|
ตะโก |
ชื่ออื่นๆ: |
ตะโกนา โก มะถ่านไฟผี นมงัว มะโก พระยาช้างดำ |
ชื่อสามัญ: |
Ebony |
ชื่อวิทยาศาสตร์: |
Diospyros rhodocalyx Kurz |
วงศ์: |
EBENACEAE |
ลักษณะพฤษศาสตร์: |
ไม้ยืนต้น สูงประมาณ 8 - 15 ม. ไม่ผลัดใบ เจริญเติบโตได้ดีในดินทุกชนิด ต้องการแสงแดดเต็มที่ตลอดทั้งวัน มีความทนทานต่อสภาพแห้งแล้งได้ดี เปลือกต้นสีดำแตกเป็นสะเก็ดหนา ใบเดี่ยว การเกาะติดของใบบนกิ่งแบบเรียงสลับ แผ่นใบรูปไข่หรือรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ปลายแหลม โคนมน ดอกมีกลิ่นหอมเกิดที่ซอกใบ ขนาดประมาณ 0.8x1.0 ซม. สีขาวนวลหรือสีเหลืองอ่อนรูปคนโฑ ส่วนปลายแยกออกเป็นกลีบ 4 กลีบ กลีบเลี้ยงสีเขียวขนาดใหญ่ ปลายแยกเป็น 4 กลีบ ผลกลม กลมแป้น และรูปไข่ ผลแก่สีเหลืองส้มผิวเกลี้ยงเป็นมันขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 3 ซม. เมล็ดสีน้ำตาลดำแข็งทรงรี ขนาดประมาณ 1.5 ซม. 1 ผลมี 4 เมล็ด |
สรรพคุณด้านสมุนไพร: |
|
ผล รสฝาดหวาน แก้ท้องร่วง แก้ตกเลือด แก้มวนท้อง ขับพยาธิ แก้กะษัย แก้ฝี และแผลเน่าเปื่อย |
|
เปลือกผล รสฝาด เผาเป็นถ่านรสเย็น ขับระดูขาว และขับปัสสาวะ |
|
เปลือกต้นและเนื้อไม้ รสเฝื่อนฝาดขม บำรุงธาตุ ช่วยย่อยอาหาร แก้มุตกิด ระดูขาว แก้รำมะนาด ปวดฟัน และเป็นยาอายุวัฒนะ |
|
เอกสารอ้างอิง: |
1. |
ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย เต็ม สมิตินันทน์ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2544. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้ พิมพ์ครั้งที่ 2 (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม). พิมพ์ที่ บริษัทประชาชน จำกัด. 2544. |
|
รวบรวมโดย: |
ไพร มัทธวรัตน์ หน่วยอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พืชพรรณ ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ.นครปฐม |
|