ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง
Central Laboratory and Greenhouse Complex
ทรัพยากรพืชพรรณฯ
 
กระท้อน
 
กระท้อน
ชื่ออื่นๆ: เตียน เลื่ยน สะท้อน มะต้อง มะตื่น
ชื่อสามัญ : Santol
ชื่อวิทยาศาสตร์: Sandoricum koetjape (Burm.f.) Merr.
วงศ์: MELIACEAE
ถิ่นกำเนิด: เอเชีย
ลักษณะพฤษศาสตร์: ไม้ยืนต้น สูงประมาณ 15 - 30 ม. เปลือกต้นสีเทามี ใบประกอบ มีใบย่อย 3 ใบ การเกาะติดของใบบนกิ่งแบบเรียงสลับ ใบย่อยรูปรีแกมไข่จนถึงขอบขนาน ขนาดประมาณ กว้าง 6 - 15 ซม. ยาว 8 - 20 ซม. เมื่อใบแก่จัดจะเปลี่ยนเป็นสีส้มแดงดอกออกเป็นช่อ ที่ซอกใบบริเวณปลายกิ่ง ดอกย่อยจำนวนมาก กลีบดอกสีเหลืองนวล ผลเป็นผลสด รูปกลมแป้น สีเหลือง ผิวมีขนแบบกำมะหยี่อ่อนนุ่ม ขนาดประมาณ 5 - 15 ชม. เมล็ดรูปรี มีปลอกเหนียวห่อหุ้ม มี 2 - 8 เมล็ด
สรรพคุณด้านสมุนไพร:
ใบสด ใช้ขับเหงื่อ ต้มอาบแก้ไข้
เปลือกต้น ต้มน้ำดื่มแก้ท้องเสีย รักษาโรคผิวหนัง กลากเกลื้อน
ผล ฝาดสมาน
ราก เป็นยาขับลม แก้ท้องเสีย บิด เป็นยาธาตุ
เอกสารอ้างอิง:
1. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้.  ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย เต็ม สมิตินันทน์ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2544.  ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้ พิมพ์ครั้งที่ 2 (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม).  พิมพ์ที่ บริษัทประชาชน จำกัด.  2544
รวบรวมโดย: ไพร มัทธวรัตน์
หน่วยอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พืชพรรณ ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง
คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ.นครปฐม