ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง
Central Laboratory and Greenhouse Complex
ทรัพยากรพืชพรรณฯ
 
ดอกขี้เหล็ก ดอกขี้เหล็ก ดอกขี้เหล็ก
ดอกขี้เหล็ก ดอกขี้เหล็ก ดอกขี้เหล็ก
ฝักขี้เหล็กเมล็ดขี้เหล็ก
 
ขี้เหล็ก
ชื่ออื่นๆ: ขี้เหล็กบ้าน ขี้เหล็กแก่น ขี้เหล็กหลวง cassod tree
การจัดลำดับชั้นทางพฤกษศาสตร์:
อันดับ Fabales
วงศ์ FABACEAE (LEGUMINOSAE)
วงศ์ย่อย CAESALPINIOIDEAE
เผ่า Cassieae
เผ่าย่อย Cassiinae
สกุล Senna
ชื่อวิทยาศาสตร์: Senna siamea Lam.
ชื่อฟ้องอื่นๆ: Cassia arayatensis Naves,
Cassia arborea Macfad.,
Cassia gigantea DC.,
Cassia sumatrana DC.,
Cassia siamea Lam.
ลักษณะทางพฤษศาสตร์: ขี้เหล็กเป็นไม้ยืนต้นสูงได้ถึง 10 ม. เนื้อไม้แข็งเหนียว แตกกิ่งก้านสาขามากเป็นร่มทึบ ทนต่อสภาพแห้งแล้งได้ดี นิยมปลูกเป็นร่มเงา ใช้เป็นอาหารและสมุนไพร ใบ ใบประกอบแบบขนนกชั้นเดียวปลายคู่ เกาะติดที่กิ่งแบบเวียน ก้านใบใหญ่แข็ง ใบย่อยรูปรีแกมขอบขนาน ปลายใบโค้งมนเว้าตื้นมีติ่งหนามโคนมนและเฉลียง ก้านใบย่อยสั้น ตัวใบและขอบใบเรียม ผิวใบด้านบนมีไขเคลือบฉาบ ใบย่อยขนาด 2X6 ซม. 1 ใบมีใบย่อย 6 - 12 คู่ ดอก ออกเป็นช่อสีเหลืองที่ปลายกิ่งแบบช่อเชิงหลั่น ดอกเกิดก่อนอยู่ด้านล่างและบานก่อน ก้านดอกย่อย ยาว 3 ซม. และมีใบประดับเกาะติดที่โคน 1 อัน กลีบหุ้มดอก 5 กลีบ ลักษณะค่อนข้างกลมโค้งและหนาสีเหลืองแกมเขียว กลีบดอก 5 กลีบ แต่ละกลีบแยกเป็นอิสระ สีเหลืองส่วนปลายแผ่ออกแบนบางทรงกลมปลายมน ส่วนโคนรวมกันเป็นแบบก้านสั้นๆ ผิวกลีบและขอบไม่มีสิ่งเกาะติด เกสรตัวผู้ มี 10 อัน แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ก้านชูและอับเรณูสั้นมาก 3 อัน ขนาดกลาง 5 อัน และยาว 2 อัน การเปิดของอับเรณูแบบเปิดที่ปลายอับเกสรตัวเมีย 1 อัน เกาะติดแบบเหนือชั้นวงกลีบ เป็นฝักแบน มีไข่หลายเม็ด ผล เป็นฝักแบบแห้งแล้วแตก แบนยาวปลายเป็นติ่งหนามแหลม กว้าง 1.30 ซม. ยาว 10 - 25 ซม. เมล็ด สีน้ำตาลแดง ถึงน้ำตาลดำ แบน และรี มีมากกว่า 10 เมล็ด
การใช้ประโยชน์:
bt01 ยอดอ่อนและดอกตูมรับประทานได้ นำมาแกงกะทิกับเนื้อสัตว์ต่างๆ ทำให้เจริญอาหาร บำรุงเลือด เป็นยาระบายอ่อนๆช่วยให้ขับถ่ายได้ง่าย และช่วยให้นอนหลับได้ดี
bt01
ยอดใบขี้เหล็กสีเขียวอ่อน นิยมนำมา
รับประทาน เพราะรสขมมีน้อย
ยอดใบขี้เหล็กสีส้มแดง ไม่นิยมนำมา
รับประทาน เพราะมีรสขมมาก
เอกสารอ้างอิง:
1. ขี้เหล็ก จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
2. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย เต็ม สมิตินันทน์ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2544. พิมพ์ครั้งที่ 2. บริษัทประชาชน จำกัด. 2543. กทม. หน้า 333
รวบรวมโดย: ไพร มัทธวรัตน์
หน่วยอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พืชพรรณ ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง
คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ.นครปฐม