|
กลิ้งกลางดง |
ชื่ออื่นๆ: |
สบู่เลือด กระท่อมเลือด |
ชื่อวิทยาศาสตร์: |
Stephania venosa (Blume.) Spreng. |
วงศ์: |
MENISPERMACEAE |
ลักษณะพฤษศาสตร์: |
ไม้เลื้อย มีรากสะสมอาหารเป็นหัวทรงกลมผิวมีทั้งชนิดขรุขระและเรียบ ต้นและกิ่งก้านเลื้อยพันกับสิ่งที่อยู่ใกล้ มีอายุการเจริญเติบโตฤดูกาลเดียว ในช่วงฤดูแล้งความชื้นไม่พอเถาจะแห้งตายเหลือไว้แต่หัวไต้ดิน เมื่อมีความชุ่มชื้นพอในฤดูฝนต้นจะเจริญขึ้นมาใหม่ หัวหรือรากสะสมอาหารนี้หากทำให้เกิดบาดแผลจะมีน้ำยางใสสีแดงไหลซึม การเกาะติดของใบบนกิ่งแบบเรียงสลับ ใบเป็นใบเดี่ยว ทรงใบรูปไข่แกมหัวใจ ปลายใบแหลมมีติ่งหาง โคนมนกว้างเว้าลึกเป็นติ่งหู ขอบใบและแผ่นใบเป็นคลื่นเล็กน้อย ขนาดประมาณ 9x13 ซม. ผิวใบด้านใต้มีขนเล็กน้อย ดอกออกเป็นช่อ แยกเพศ ช่อดอกตัวผู้ยาวประมาณ 4 - 16 ซม. กลีบดอกสีส้ม ช่อดอกตัวเมียอัดกันแน่นมากกว่า ผลเป็นผลสด รูปไข่กลับ |
สรรพคุณด้านสมุนไพร: |
|
เถา ใช้เถาขับพยาธิ ขับโลหิตระดู กระจายลมที่แน่นในอก |
|
ใบ บำรุงธาตุ รักษาแผลสด และแผลเรื้อรัง |
|
ดอก แก้โรคผิวหนังผื่นคัน ช่วยย่อยอาหาร |
|
ราก บำรุงเส้นประสาท |
|
หัวใต้ดิน ดองเหล้ากินบำรุงกำลังขับเสมหะ บำรุงกำหนัด หรือตากแห้ง บด ปั้นเป็นลูกกลอนกินเป็นยาอายุวัฒนะ ช่วยเจริญอาหาร ขับลม รักษาโรคมะเร็งต่างๆ โรคเบาหวาน โรคโลหิตจาง โรคปวดศีรษะ |
|
หมายเหตุ: |
ต้นกลิ้งกลางดง มีผลพิเศษ (เป็นผลหรือรากสะสมอาหาร) ทรงกลมผิวสีน้ำตาลขรุขระเล็กน้อยเกาะติดเป็นคู่ตามซอกใบที่เถา |
เอกสารอ้างอิง: |
1. |
ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย เต็ม สมิตินันทน์ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2544. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้ พิมพ์ครั้งที่ 2 (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม). พิมพ์ที่ บริษัทประชาชน จำกัด. 2544 |
|
รวบรวมโดย: |
ไพร มัทธวรัตน์ หน่วยอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พืชพรรณ ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ.นครปฐม |
|