|
กระจ่อม |
ชื่ออื่นๆ: |
กระจับ กระจับเขาทู่ กระจับเขาแหลม กระจับใหญ่ เขาควาย มะแง่ง |
ชื่อวิทยาศาสตร์: |
Trapa natans L. |
วงศ์: |
TRAPACEAE |
ลักษณะทางพฤษศาสตร์: |
เป็นพืชน้ำ ชนิดลอยน้ำ ต้องการแสงแดดตลอดทั้งวันในการเจริญเติบโต ลำต้นและรากอยู่ใต้น้ำและผิวดินใต้น้ำ ใบอยู่ผิวน้ำ การเกาะติดของใบที่ลำต้นเป็นแบบเวียน ออกดอกที่ซอกใบชูขึ้นพ้นผิวน้ำแล้วบานเต็มที่ เมื่อผสมเกสรแล้วก้านดอกจะโค้งงอลงใต้ผิวน้ำเจริญเติบโตเป็นผลต่อไป กระจับชนิดนี้รับประทานผลสดแบบของขบเคี้ยว เป็นอาหารว่างให้แป้งที่มีรสชาติหวานมัน เปลือกผลบางแกะลอกออกได้ง่าย หรือนำไปประกอบอาหารคาวได้
ใบ เป็นใบเดี่ยวรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน มีขนาดความกว้างและยาว 8 X 6 ซม. ขอบใบช่วงปลายเป็นหยักตื้น ปลายยอดหยักเป็นหนามสั้นๆ สีน้ำตาลแดง 2 อันทุกๆ ยอด ช่วงด้านล่างเรียบไม่มีสิ่งเกาะติด ผิวใบด้านบนสีเขียวเรียบเป็นมันเงา ไม่มีสิ่งเกาะติดด้านใต้สีอ่อนกว่า มีขนอ่อนสีน้ำตาลเกาะติดหนาแน่นโดยเฉพาะที่เส้นใบ ก้านใบเป็นก้านกลมสีน้ำตาลแดง ตรงกลางโป่งพองออกเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 ซม. เพื่อพยุงให้ลอยน้ำได้ ความยาวก้านใบขึ้นอยู่กับการเจริญเติบโตของต้น ใบที่เกิดก่อนก้านใบจะยืดยาวออกได้ถึง 10 ซม. ใบที่เกิดใหม่ก้านใบสั้นประมาณ 2 ซม. ผิวก้านใบมีขนสั้นอ่อนนุ่มเกาะติดหนาแน่น
ดอก ดอกเดี่ยว สีขาว บานเต็มที่เส้นผ่านศูนย์กลาง 1 ซม.
ก้านดอก |
เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.80 ซม. ยาว 2 ซม. ก้านสีน้ำตาลแดง มีขนสีขาวสั้นนุ่มเกาะติดหนาแน่น |
กลีบเลี้ยง |
4 กลีบ สีเขียวแกมน้ำตาล ทรงรี ขนาดกว้างและยาว 0.30 X 0.70 ซม. ผิวด้านนอกมีขนสีขาวนุ่มเกาะติดหนาแน่น ด้านในเรียบไม่มีสิ่งเกาะติด |
กลีบดอก |
4 กลีบ สีขาว ขนาด 0.50 X 1.10 ซม. เกาะติดบนฐานรองดอก แต่ละกลีบเป็นอิสระต่อกัน กลีบรูปกระบองปลายโค้งมนโคนสอบเรียว ขอบกลีบส่วนปลายเป็นหยัก และบิดพลิ้วโค้งไปด้านหลังกลีบ ผิวทั้งสองด้านไม่มีสิ่งเกาะติด |
เกสรตัวผู้ |
4 อัน ยาว 0.60 ซม. เกาะติดที่ฐานรองดอก และมีเนื้อเยื่อแผ่นสีเหลืองขอบเป็นริ้วเส้นขนแดะโอบโคนก้านชูเกสรและส่วนด้านหน้าเชื่อมติดโคนรังไข่ไว้ ทั้ง 4 อัน อับเรณูสีขาวเหลือง |
เกสรตัวเมีย |
1 อัน เกาะติดบนฐานรองดอก โดยอยู่กลางเนื้อเยื่อสีเหลือง รังไข่มี 2 ห้อง แต่ละห้องมีเม็ดไข่ 1 อัน แต่เม็ดไข่สูญเสียการเจริญเติบโตไป 1 ห้อง |
ผล เจริญมาจากไข่ 1 อัน 1 ห้องรังไข่ ขนาดประมาณ 4 X 2.30 ซม. เปลือกผลสีน้ำตาลอมชมพู ผลเป็นแบบผลถั่ว เปลือกแข็ง แห้งแล้วไม่แตก ก้านผลสีเดียวกันและมีขนแบบเดียวกัน ขนาด 0.80 X 2.30 ซม.
|
การปลูก: |
ต้นพันธุ์ โดยใช้ต้นอ่อนที่ได้จากการเพาะเมล็ด หรือกิ่งอ่อนที่เกิดจากตาข้างของต้นเก่า โดยตัดให้มีส่วนของลำต้นติดมาด้วยประมาณ 10 ถึง 20 ซม. ต้นพันธุ์ควรมีลักษณะสดใสแข็งแรงไม่เหี่ยวเน่า
การปลูก พื้นที่ปลูกควรได้รับแสงแดดตลอดทั้งวัน
ปลูกขนาดเล็ก เป็นการปลูกแบบประดับและรับประทานได้ในครัวเรือน โดยใช้ภาชนะที่ขังน้ำได้และควรมีขนาดเล็กสุดไม่น้อยกว่า 30 X 30 ซม. ลึก 50 ซม. ใส่ดินค่อนข้างเหนียวให้มีความหนาประมาณ 10 ซม. ใส่น้ำให้เต็มภาชนะ นำต้นพันธุ์ลอยน้ำ สักระยะรากจะยึดเกาะกับดินเอง เมื่อพืชเจริญเติบโตดีแล้วสามารถนำปลาตู้ประดับที่มีขนาดเล็กเลี้ยงรวมด้วยก็ได้
ปลูกขนาดกลาง เป็นการปลูกไว้บริโภคในกลุ่มครอบครัว โดยใช้ภาชนะที่ขังน้ำได้หรือพื้นดินขุดเป็นบ่อขังน้ำได้ มีขนาด 4 X 5 ม. ลึก 50 - 80 ซม. หากเป็นภาชนะให้ใส่ดินค่อนข้างเหนียวหนา 10 - 15 ซม. ใส่น้ำให้เต็ม นำต้นพันธุ์ลอยน้ำเป็นกลุ่มๆ ห่างกันประมาณ 50 ซม. จนเต็มพื้นที่ ไม่สามารถเลี้ยงปลานิล ปลาแฟนซีคาร์ป หรือปลากินพืช เพราะปลาจะกินรากและใบพืชจนไม่สามารถเจริญเติบโตได้
ปลูกขนาดใหญ่เพื่อเป็นการค้า คือพื้นที่มากกว่า 10 X 20 ม. ความลึกของน้ำไม่ควรมากกว่า 1 ม. ควรวางแผนให้มีพื้นที่สำหรับเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ง่ายด้วย
|
การบำรุงรักษา: |
กระจับเป็นพืชที่เจริญเติบโตได้ดีตามธรรมชาติโดยไม่ต้องให้ปุ๋ยเพิ่มเติม เพราะช่วงฤดูร้อนหรือเดือนเมษายน และพฤษภาคม น้ำในพื้นที่ปลูกจะลดน้อยลงเหลือความสูงประมาณ 10 ซม. น้ำจะร้อนง่าย ประกอบกับพืชจะพักตัว ใบแก่จะเหี่ยวเน่ากลายเป็นปุ๋ยตามธรรมชาติ ในเดือนพฤษภาคมหากมีน้ำใหม่เติมลงมาในปริมาณมาก พืชจะเริ่มเจริญเติบโตเข้าสู่รอบการเจริญใหม่ทันที หากไม่มีน้ำต้องรอจนฝนตกมีน้ำจำนวนมาก |
โรคและแมลง: |
โรค ไม่พบการเกิด
แมลง หนอนกัดกินใบ หากพบการระบาดเป็นพื้นที่มาก ใช้น้ำหมักจากพริกและยาสูบฉีดพ่น สัปดาห์ละ 2 ครั้ง ติดต่อกัน 3 สัปดาห์
|
การเก็บเกี่ยวผลผลิต: |
หลังจากปล่อยต้นพันธุ์ลอยน้ำแล้วใช้เวลาประมาณ 30 วัน พืชจะเจริญได้เต็มที่และเริ่มออกดอก อายุของผลนับจากดอกบานถึงเก็บเกี่ยวได้ใช้เวลาประมาณ 25 - 30 วัน ดอกจะออกไปเรื่อยๆ ทำให้สามารถเก็บผลผลิตได้ห่างกันทุกๆ 10-12 วัน ในหนึ่งเดือนสามารถเก็บเกี่ยวได้ 3 ครั้ง แล้วผลผลิตจะเริ่มลดลงในครั้งที่ 4 - 6 และจะเพิ่มขึ้นเหมือนชุดแรกอีก สลับเป็นแบบนี้ไปเรื่อยๆ จนเข้าฤดูร้อนในช่วงเดือนเมษายน และพฤษภาคม ต้นจะโทรมๆ ดังนั้นในทุก 12 วันจะเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ 1,200 - 1,500 กิโลกรัมต่อไร่ วิธีการเก็บผลผลิตทำได้ 2 แบบคือ 1. ลงเดินในน้ำ พลิกต้นกระจับดู เลือกเก็บผลที่แก่รับประทานได้ 2. ใช้เรือพายไปเก็บ พลิกต้นกระจับดูเหมือนกัน เลือกเก็บผลที่แก่รับประทานได้
|
ผนวก: |
1. การเกิดต้นใหม่ |
|
|
|
|
2. ต้นและใบ |
|
|
|
|
|
|
|
|
3. ดอกและส่วนประกอบดอก |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
4. ผล |
|
|
|
|
|
เอกสารอ้างอิง: |
1. |
พรเพ็ญ สุภาโชค. กองวิเคราะห์พืช 27 04 2018 ; 11:52 |
2. |
ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย เต็ม สมิตินันทน์ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2544. พิมพ์ครั้งที่ 2. บริษัท ประชาชน จำกัด. 2543. กทม. หน้า 333 |
3. |
ราชบัณฑิตยสถาน. 2547. อนุกรมวิธานพืช อักษร ก. พิมพ์ครั้งที่ 2. ห้างหุ้นส่วนจำกัด อรุณการพิมพ์. หน้า 11 |
|
รวบรวมโดย: |
ไพร มัทธวรัตน์ หน่วยอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พืชพรรณ ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ.นครปฐม |
|