ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง
Central Laboratory and Greenhouse Complex
หน้าแรก
ข้อมูลทั่วไป
ประวัติ
โครงสร้างการบริหาร
ผู้บริหาร
บุคลากร
วีดิทัศน์แนะนำศูนย์ฯ
หน่วยงาน
หน่วยบริหารและธุรการ
หน่วยวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมและเทคโนโลยี
หน่วยการใช้ประโยชน์จากผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ
หน่วยจุลชีววิทยาประยุกต์
หน่วยวิเคราะห์ วิจัยพฤกษเคมี
หน่วยอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรชีวภาพ
หน่วยวิจัยโรคพืชและศาสตร์สัมพันธ์
หน่วยทรัพยากรชีวภาพด้านแมลง
หน่วยวิเคราะห์ วิจัยดิน พืช และวัสดุเกษตร
หน่วยเทคโนโลยีเมล็ดพันธุ์และปรับปรุงพันธุ์พืช
หน่วยเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช
หน่วยอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พืชพรรณ
หน่วยพัฒนาอุปกรณ์และอาคารสถานที่
งานวิจัย
งานวิจัยศูนย์ปฏิบัติการวิจัย
รางวัล
โปสเตอร์งานวิจัย
ข้อมูลการตีพิมพ์วารสาร
จรรยาวิชาชีพวิจัยและแนวทางปฏิบัติ
ทรัพยากรพืชพรรณฯ
สมุนไพร
ไม้หอมเดิม
ไม้หอมใหม่
นานาสาระไม้หอม
ไม้ดอกไม้ประดับ
ไม้ผล
วัชพืช
วีดิทัศน์แนะนำพันธุ์ไม้
ต้นไม้ทรงปลูก
วารสารข่าวศูนย์ฯ
ดาวน์โหลด
ติดต่อเรา
ทรัพยากรพืชพรรณฯ
สมุนไพร
ไม้หอมเดิม
ไม้หอมใหม่
นานาสาระไม้หอม
ไม้ดอกไม้ประดับ
ไม้ผล
วัชพืช
วีดิทัศน์แนะนำพันธุ์ไม้
การขยายพันธุ์ไม้หอมโดยการปักชำอย่างง่าย
นพพล เกตุประสาท
นักวิชาการเกษตรชำนาญการ
หน่วยอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พืชพรรณ ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง
คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ. นครปฐม
การขยายพันธุ์ไม้หอมมีหลายวิธีการด้วยกัน เช่น การตอน การติดตา การทาบกิ่ง การเสียบยอด การเพาะเมล็ด แล้วแต่ชนิดของพันธุ์พืชและวัตถุประสงค์ในการขยายพันธุ์ชนิดนั้นๆ ซึ่งในแต่ละวิธีการมีขั้นตอนและวิธีปฏิบัติอย่างง่ายหรือยาก และต้องอาศัยความชำนาญแตกต่างกันออกไป ครั้งนี้ขอแนะนำวิธีการปักชำอย่างง่ายๆ โดยใช้วัสดุที่หาง่าย ต้นทุนน้อยและไม่ต้องดูแลมาก
1. อุปกรณ์ที่ต้องใช้
1.1
กรรไกร หรือมีดคมๆ สักอันหนึ่ง (เสียเงินอีกแล้ว) อันนี้สำคัญมาก หากมีดที่ใช้ไม่คม แผลที่เกิดจากการตัดอาจช้ำ และทำให้เกิดการเน่าของกิ่งที่เราชำได้ง่าย (หาไม่ได้ก็ชื้อมีดคัตเตอร์ที่มีใบมีดขนาดกลางสัก 1 เล่ม ใบมีดอีก 1 ห่อไม่เกิน 30 บาท ใช้ได้นานเลยครับ)
1.2
กระถาง หรือขวดพลาสติก ขนาดพอเหมาะเท่าที่เรามี (กระถางใส่ต้นไม้ที่เราชื้อมาก็ได้ ถ้าไม่มีกระถางให้หาขวดน้ำอัดลมพลาสติกขนาดใหญ่ หรือขวดอย่างอื่นที่มีขนาดประมาณ 2 ลิตรขึ้นไป ตัดขวดให้ปากกว้างพอที่จะทำงานได้สะดวก หากเป็นขวดควรเจาะรูที่ก้นขวด 3 - 4 รู
1.3
ถุงพลาสติกใสที่ไม่มีรอยรั่ว ที่สามารถใส่วัสดุตามข้อ 1.2 ได้และมีพื้นที่เหลือว่างๆ พอที่จะให้กิ่งกระทบกับถุงหรืออื่นๆ
1.4
ยางวงที่ใช้รัดของ เอาไว้ใช้รัดปากถุง
1.5
วัสดุเพาะชำ มีแกลบเก่า และทรายน้ำจืดละเอียดอย่างละเท่าๆ กัน หากหาแกลบเก่าไม่ได้ แกลบใหม่ก็ใช้ได้แต่ต้องแช่น้ำไว้ 1 คืน แล้วเทน้ำทิ้ง ทำอย่างนี้ 2 - 3 ครั้ง ทรายก็ทำเหมือนกัน
1.6
ฟ๊อกกี้ เพื่อใช้ฉีดน้ำให้ความชื้น (ทุกบ้านมีอยู่แล้ว อันที่ฉีดผ้าก่อนรีดนั้นแหละครับ)
2. การเตรียมวัสดุปักชำ
2.1
ผสมทรายกับขี้เถ้าแกลบให้เข้ากันดี
2.2
เทวัสดุปักชำที่ผสมแล้วใส่กระถางหรือขวดที่เตรียมไว้ รดน้ำให้ชุ่มอีกครั้ง (หากชุ่มพอจะเห็นน้ำค่อยๆ ไหลออกมาจากก้นกระถาง) วัสดุที่ใส่กระถางควรต่ำกว่าปากกระถางประมาณ 1 นิ้ว
3. การเลือกกิ่งที่จะใช้ปักชำ
ควรเลือกกิ่งที่ไม่แก่หรืออ่อนเกินไป (สังเกตจากสีของกิ่งต้องเป็นสีเขียวอมเทาหรือน้ำตาล กิ่งที่อ่อนเกินไปจะมีสีเขียว กิ่งที่แก่เกินไปจะมีสีเทาหรือน้ำตาล ความยาวของกิ่งปักชำยาวประมาณ 6 - 9 นิ้ว และควรเป็นกิ่งยอด
4. การเตรียมกิ่งที่จะใช้ปักชำ
4.1
ตัดกิ่งจากต้นและตัดใบออกให้เหลือใบเฉพาะที่ยอด 2 - 3 ใบก็พอ ใบเอาไว้มากไม่ได้ครับ เพราะว่าใบจะคายน้ำจนใบร่วง (ระวังไว้นะตรงนี้สำคัญมาก)
4.2
ตัดโคนกิ่งใหม่ให้ต่ำกว่าข้อที่ติดใบประมาณ 0.5 - 1 ซม. (ต้นไม้ส่วนใหญ่จะออกรากที่ข้อปล้อง)
4.3
นำกิ่งที่ได้จากข้อ 4.2 ไปจุ่มน้ำให้เร็วที่สุด (กิ่งที่เหี่ยวจากการคายน้ำมีโอกาสตายสูง)
4.4
หากเป็นพันธุ์ไม้ที่ออกรากยากควรใช้ฮอร์โมนเร่งราก เช่น เซราดิกซ์ รูสโกร เป็นต้น จุ่มให้ถึงบริเวณข้อ และผึ่งลมในที่ร่มหรือที่มืดได้ก็ยิ่งดี เพราะว่าฮอร์โมนจะเสื่อมคุณภาพเร็วหากโดนแสงสว่างหรือความร้อน
5. การปักชำ
เมื่อเตรียมวัสดุและกิ่งที่จะใช้ปักชำเรียบร้อยแล้ว การปักชำมีขั้นตอนในการปฏิบัติดังนี้
5.1
นำกระถางที่ใส่วัสดุเพาะชำที่เตรียมไว้แล้วรดน้ำให้ชุ่ม ทำการอัดวัสดุเพาะชำให้แน่นอีกครั้ง
5.2
ปักกิ่งชำให้ลึกพอสมควร (อย่างน้อยต้องให้บริเวณข้อปล้องที่จะให้รากออก 1.5 - 2 นิ้ว (จากผิวด้านบนของวัสดุที่ใช้ในการปักชำ) ปักกิ่งให้ห่างกัน 1 - 2 นิ้ว แล้วแต่ขนาดกิ่ง
5.3
เมื่อปักกิ่งชำเรียบร้อยแล้วนำมาใส่ถุงพลาสติกที่เตรียมไว้ ฉีดพ่นน้ำโดยฟ๊อกกี้ให้ชุ่มอีกครั้ง และให้มีน้ำเหลืออยู่ที่ก้นถุงประมาณ 200 - 300 ซีซี (เอาไว้ควบคุมระดับความชื้นภายในถุงปักชำ)
5.4
จากนั้นมัดปากถุงให้แน่น (ถุงต้องเป่าให้กลม (กลมเหมือนถุงแกง) และไม่มีส่วนใดๆ ติดกับกิ่งที่ปักชำ)
5.5
นำไปตั้งไว้ในที่ร่มรำไร ประมาณ 15 วัน หากใบที่กิ่งปักชำยังเขียวอยู่ แสดงว่าการปักชำประสบความสำเร็จ
5.6
เมื่อปักชำได้ประมาณ 21 วัน ทำการเปิดปากถุงแต่ยังไม่ควรเอาถุงออก
5.7
เมื่อเปิดถุงแล้ว 3 - 4 วัน ดูกิ่งปักชำว่าปกติดีอยู่หรือไม่ ถ้าปกติดีก็เอาถุงออกได้
5.8
หลังจากเอาถุงออกแล้วประมาณ 7 - 15 วัน ย้ายปลูก
Top