ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง
Central Laboratory and Greenhouse Complex
หน้าแรก
ข้อมูลทั่วไป
ประวัติ
โครงสร้างการบริหาร
ผู้บริหาร
บุคลากร
วีดิทัศน์แนะนำศูนย์ฯ
หน่วยงาน
หน่วยบริหารและธุรการ
หน่วยวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมและเทคโนโลยี
หน่วยการใช้ประโยชน์จากผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ
หน่วยจุลชีววิทยาประยุกต์
หน่วยวิเคราะห์ วิจัยพฤกษเคมี
หน่วยอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรชีวภาพ
หน่วยวิจัยโรคพืชและศาสตร์สัมพันธ์
หน่วยทรัพยากรชีวภาพด้านแมลง
หน่วยวิเคราะห์ วิจัยดิน พืช และวัสดุเกษตร
หน่วยเทคโนโลยีเมล็ดพันธุ์และปรับปรุงพันธุ์พืช
หน่วยเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช
หน่วยอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พืชพรรณ
หน่วยพัฒนาอุปกรณ์และอาคารสถานที่
งานวิจัย
งานวิจัยศูนย์ปฏิบัติการวิจัย
รางวัล
โปสเตอร์งานวิจัย
ข้อมูลการตีพิมพ์วารสาร
จรรยาวิชาชีพวิจัยและแนวทางปฏิบัติ
ทรัพยากรพืชพรรณฯ
สมุนไพร
ไม้หอมเดิม
ไม้หอมใหม่
นานาสาระไม้หอม
ไม้ดอกไม้ประดับ
ไม้ผล
วัชพืช
วีดิทัศน์แนะนำพันธุ์ไม้
ต้นไม้ทรงปลูก
วารสารข่าวศูนย์ฯ
ดาวน์โหลด
ติดต่อเรา
ทรัพยากรพืชพรรณฯ
สมุนไพร
ไม้หอมเดิม
ไม้หอมใหม่
นานาสาระไม้หอม
ไม้ดอกไม้ประดับ
ไม้ผล
วัชพืช
วีดิทัศน์แนะนำพันธุ์ไม้
เทคนิคการตอนไม้หอมขนาดใหญ่
นพพล เกตุประสาท และสุดใจ วรเลข
หน่วยอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พืชพรรณ ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง
คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ. นครปฐม
ปัจจุบันการใช้พรรณไม้หอมในการประดับและตกแต่งสถานที่กำลังเป็นที่นิยมกันมาก โดยเฉพาะพรรณไม้หอมที่มีขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ การขุดล้อมหรือการบอนพรรณไม้หอมขนาดดังกล่าวจึงเป็นที่นิยมในเชิงการค้า พรรณไม้หอมเหล่านี้เมื่อมีการขุดล้อมหรือการบอน ส่วนใหญ่จะไม่มีการปลูกทดแทน การตอนพรรณไม้หอมขนาดใหญ่จึงเป็นแนวทางหนึ่งที่จะช่วยลดจำนวนพรรณไม้ที่จะต้องโดนขุดล้อมหรือการบอนออกจากพื้นที่ โดยเฉพาะพรรณไม้ที่ปลูกตามหัวไร่ปลายนาหรือจากในป่าได้อีกทางหนึ่ง
วัตถุประสงค์
1.
ทดแทนการขุดล้อมหรือการตอนพรรณไม้หอมออกจากพื้นที่ เพื่อรักษาสมดุลของนิเวศน์ของพรรณไม้หอม
2.
ลดระยะเวลาในการปลูกและดูแลรักษาให้น้อยลง 1 - 3 ปีเพื่อให้ได้ขนาดและรูปทรงที่ต้องการ
3.
พรรณไม้หอมที่ได้จากการตอน จะมีระบบรากที่สมบูรณ์และแข็งแรงเท่ากับหรือดีกว่าพรรณไม้หอมที่ได้จากการบอนหรือขุดล้อม
เทคนิคและวิธีดำเนินการ
1.
เลือกฤดูกาลที่เหมาะสม ในช่วงฤดูฝน (เดือน พ.ค. – ส.ค.) พรรณไม้หอมส่วนใหญ่จะมีการเจริญเติบโตมากกว่าช่วงฤดูกาลอื่น
2.
ควรเลือกพรรณไม้หอมที่มีการเจริญเติบโตรวดเร็วและมีเปอร์เซ็นต์การงอกรากสูง 80-100% เช่น ลีลาวดี รวงผึ้ง จำปาเทศ เป็นต้น เมื่อทำการตอนในขนาดปกติ
3.
พรรณไม้หอมที่มีเปลือกหนา จะมีโอกาสออกรากมากกว่าพันธุ์ไม้หอมที่มีเปลือกบาง
4.
อุปกรณ์ที่ใช้ในการตอน เช่น มีด สิ่ว (ต้องคม) ขนาดเหมาะสมกับกิ่งที่จะตอน เพื่อความสะดวกในการปฏิบัติงาน
5.
การใช้ฮอร์โมนช่วยเร่งการออกราก มีความจำเป็นต้องใช้ในปริมาณที่มากกว่าปกติ ระดับความเข้มข้นของฮอร์โมนแล้วแต่ความเหมาะสมของแต่ละชนิดของพรรณไม้หอม (ระดับฮอร์โมนโดยทั่วไปในท้องตลาด ความเข้มข้นจะอยู่ที่ประมาณ 0.3% (3,000 PPM) การผสมโดยตรงระหว่างฮอร์โมนผงและฮอร์โมนที่เป็นของเหลว เป็นแนวทางหนึ่งในการเพิ่มความเข้มข้นของฮอร์โมนเพื่อให้เหมาะสม และควรใช้ฮอร์โมนในช่วงเย็นหรือมีแสงน้อย
6.
ขนาดของแผลที่ตอน ควรมีขนาดที่พอเหมาะ และสะดวกในการปฏิบัติงาน
7.
เนื้อเยื่อบริเวณที่จะให้ออกราก ควรระมัดระวังอย่าให้เนื้อเยื่อช้ำ และบาดแผลยังมีความสด จะช่วยให้ดูดซึมฮอร์โมนได้ดียิ่งขึ้น
8.
การหุ้มแผลที่ตอน พรรณไม้หอมที่มีขนาดใหญ่จะต้องหุ้มเพิ่มเติม 2 - 3 ครั้ง เพื่อให้รากมีจำนวนมากหรือมีความแข็งแรงพอที่จะเลี้ยงต้นที่ตอนได้
9.
ในช่วงที่รากเริ่มออก หากสังเกตว่าขุยมะพร้าวเริ่มมีความชื้นลดลง ควรมีการให้น้ำเพิ่มเติมเป็นครั้งคราวจะช่วยให้การเจริญเติบโตของรากดีขึ้น
10.
เมื่อมีรากจำนวนมากพอสมควรกับขนาดของต้น ก็สามารถตัดเพื่อปลูกต่อไปได้
11.
เทคนิคการตัดกิ่งตอนขนาดใหญ่ ควรตัดให้ต่ำกว่าตุ้มตอน 2 - 3 นิ้ว เพื่อเวลาปลูกบริเวณที่เกิดรากจะไม่กระทบกระเทือน และควรเด็ดใบออกให้เหลือประมาณ 1 ใน 3 เพื่อลดการคายน้ำ
จำปาเทศขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางลำต้น 10 นิ้ว
ต้นจริงก่อนตัดสูงกว่า 8 เมตร
เตรียมควั่นและลอกเปลือก
ขูดเนื้อเยื่อเจริญให้หมด
และทาฮอร์โมน
หุ้มด้วยขุยมะพร้าวและมัดให้แน่น
หุ้มด้วยขุยมะพร้าวครั้งที่ 2
ออกรากเต็มตัดได้
ตัดมาโชว์งานเกษตรกำแพงแสน
ความสูง 2 เมตร
Top