ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง
Central Laboratory and Greenhouse Complex
หน้าแรก
ข้อมูลทั่วไป
ประวัติ
โครงสร้างการบริหาร
ผู้บริหาร
บุคลากร
วีดิทัศน์แนะนำศูนย์ฯ
หน่วยงาน
หน่วยบริหารและธุรการ
หน่วยวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมและเทคโนโลยี
หน่วยการใช้ประโยชน์จากผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ
หน่วยจุลชีววิทยาประยุกต์
หน่วยวิเคราะห์ วิจัยพฤกษเคมี
หน่วยอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรชีวภาพ
หน่วยวิจัยโรคพืชและศาสตร์สัมพันธ์
หน่วยทรัพยากรชีวภาพด้านแมลง
หน่วยวิเคราะห์ วิจัยดิน พืช และวัสดุเกษตร
หน่วยเทคโนโลยีเมล็ดพันธุ์และปรับปรุงพันธุ์พืช
หน่วยเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช
หน่วยอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พืชพรรณ
หน่วยพัฒนาอุปกรณ์และอาคารสถานที่
งานวิจัย
งานวิจัยศูนย์ปฏิบัติการวิจัย
รางวัล
โปสเตอร์งานวิจัย
ข้อมูลการตีพิมพ์วารสาร
จรรยาวิชาชีพวิจัยและแนวทางปฏิบัติ
ทรัพยากรพืชพรรณฯ
สมุนไพร
ไม้หอมเดิม
ไม้หอมใหม่
นานาสาระไม้หอม
ไม้ดอกไม้ประดับ
ไม้ผล
วัชพืช
วีดิทัศน์แนะนำพันธุ์ไม้
ต้นไม้ทรงปลูก
วารสารข่าวศูนย์ฯ
ดาวน์โหลด
ติดต่อเรา
ทรัพยากรพืชพรรณฯ
สมุนไพร
ไม้หอมเดิม
ไม้หอมใหม่
นานาสาระไม้หอม
ไม้ดอกไม้ประดับ
ไม้ผล
วัชพืช
วีดิทัศน์แนะนำพันธุ์ไม้
ข่าวร้ายของลีลาวดี
นพพล เกตุประสาท
นักวิชาการเกษตรชำนาญการ
หน่วยอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พืชพรรณ ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง
คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ. นครปฐม
ในช่วงฤดูฝน ความชื้นในอากาศสูง เหมาะกับการเจริญเติบโตของเชื้อราสาเหตุโรคพืชหลายชนิด หากท่านมีลีลาวดีไม่ว่าพันธุ์ใดๆ ก็ตาม ท่านมีสิทธิ์พบลีลาวดีเป็น
โรคราสนิม
หากอยู่ในสภาพแวดล้อมดังต่อไปนี้
1.
อยู่ในที่มีความชื้นในอากาศสูงเป็นระยะเวลายาวนาน หรือท่านรดน้ำบ่อยครั้งเกินไป
2.
ลีลาวดีได้รับแสงแดดไม่เพียงพอกับความต้องการ ทำให้ต้นลีลาวดีไม่แข็งแรง และอ่อนแอต่อการเข้าทำลายของเชื้อราสาเหตุโรคพืช
3.
มีใบปกคลุมจำนวนมากเกินไป และได้รับปุ๋ยที่มีธาตุไนโตรเจนสูงทำให้ต้นอวบน้ำมากกว่าปกติ
4.
ท่านมีต้นไม้อื่นๆ ที่มีเชื้อสาเหตุโรคพืชอยู่ใกล้ๆ กับลีลาวดี
ลักษณะอาการของโรคราสนิมที่พอจะสังเกตได้ในเบื้องต้นจากอาการภายนอก
ด้านบนของใบ
ด้านล่างของใบ
หากพบอาการดังกล่าวควรปฏิบัติดังต่อไปนี้
1.
เก็บใบที่แสดงอาการโรคออกจากต้นให้หมด ในการเก็บใบออกควรจับที่ก้านใบบริเวณใกล้ๆ ลำต้น และค่อยๆ บิดด้วยความระมัดระวัง เนื่องจากเชื้อราที่เป็นสาเหตุโรคราสนิมสามารถฟุ้งกระจายได้ง่ายในอากาศ หากใบที่เป็นโรคมีจำนวนไม่มากเกินไป ควรเก็บใส่ถุงและปิดปากให้แน่นก่อนการเผาทำลาย
2.
ในกรณีที่เป็นต้นขนาดใหญ่และมีใบที่เป็นโรคจำนวนมาก จนไม่สามารถเด็ดใบทิ้งได้ทั้งหมด ควรเก็บกวาดใบที่เป็นโรคบริเวณโคนต้นและใบส่วนที่เก็บถึงให้มากที่สุด และเผาทำลาย
3.
ตัดแต่งทรงพุ่มให้โปร่ง อากาศถ่ายเทได้สะดวก
4.
งดการให้น้ำระยะหนึ่งเพื่อลดความชื้นบริเวณรอบๆ ต้น
5.
ในกรณีที่ยังปลูกเป็นไม้กระถาง ควรเคลื่อนย้ายมาอยู่ในที่แห้ง แดดจัด ลมพัดผ่านได้ง่าย งดน้ำชั่วคราว
6.
ในกรณีที่ปฏิบัติตามตั้งแต่ข้อ 1 - 4 แล้ว ยังพบการระบาดของโรค จึงควรใช้สารเคมีในการป้องกันกำจัด สารเคมีที่แนะนำให้ใช้ เช่น ซาพรอล อมิตตา อัตราส่วนตามที่ระบุในฉลากยา 2 - 3 ครั้ง ห่างกัน 2 - 5 วัน/ครั้ง แล้วแต่ความรุนแรงของการระบาด
หมายเหตุ
ลีลาวดีในสภาพธรรมชาติ เป็นพรรณไม้ที่ปลูกได้ดีในที่ค่อนข้างแห้งแล้ง มีการร่วงของใบในฤดูร้อนอยู่แล้ว การขยายพันธุ์ลีลาวดีโดยการปรับสภาพแวดล้อมให้เหมาะกับการเจริญเติบโตตลอดเวลา เป็นผลให้ลีลาวดีอ่อนแอในที่สุด
Top