|
กระถินเทศ |
ชื่ออื่นๆ: |
กระถินหอม คำใต้ ดอกคำใต้ (เหนือ) กระถิน (กลาง) เกากรึนอง (กาญจนบุรี) บุหวาละสะมะนา (ปราจีนบุรี) บุหงาอินโดนีเซีย (กรุงเทพฯ) |
ชื่อสามัญ: |
Sponge tree, Cassie flower, Sweet acacia |
ชื่อวิทยาศาสตร์: |
Acacia farnesiana (Linn.) Willd. |
วงศ์: |
Mimosaceae, Leguminosae |
ถิ่นกำเนิด: |
พรรณไม้นำเข้าจากต่างประเทศ (สันนิษฐานว่านำเข้ามาจากอเมริกา) |
ลักษณะทั่วไป: |
ไม้พุ่มขนาดเล็กสูง 2 - 10 ม. ทรงพุ่มโปร่ง รูปทรงไม่ค่อยแน่นอน |
ฤดูการออกดอก: |
ปลายฤดูฝนถึงต้นฤดูหนาว (พ.ย. - ธ.ค.) ออกดอกมาก ประปรายตลอดปี |
เวลาที่ดอกหอม: |
ตลอดวัน (ช่วงอากาศเย็นจะหอมมาก) |
การขยายพันธุ์: |
 |
การเพาะเมล็ด สามารถทำได้แต่ต้องใช้เวลาในการเพาะนาน 2 - 3 เดือนจึงจะงอก |
|
ข้อดีของพันธุ์ไม้: |
 |
ทนทานต่อสภาพแวดล้อมที่ได้ดี |
 |
เป็นพืชสมุนไพรที่มีสรรพคุณหลายอย่าง |
|
ข้อแนะนำ: |
 |
เนื่องจากมีหนามแหลมคมมากทั่วทั้งต้น จึงสามารถปลูกเพื่อเป็นรั้วป้องกันสัตว์หรือคนได้ แต่ไม่เหมาะกับการปลูกในพื้นที่มีเด็กเล็ก เช่น โรงเรียน โรงพยาบาล ฯลฯ อาจเป็นอันตรายได้ |
 |
เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการอนุรักษ์จริงๆ เท่านั้น เนื่องจากการดูแลรักษา การตัดแต่งทรงพุ่มให้สวยงามทำได้ยากมาก ต้องควบคุมทรงพุ่มตลอดเวลา |
 |
หากต้องการให้ออกดอกครั้งละมากๆ ควรเลี้ยงดูตามธรรมชาติ และงดการให้น้ำช่วงฤดูฝน จะออกดอกเต็มต้นในช่วงประมาณเดือน พ.ย. - ธ.ค. |
 |
การให้น้ำและปุ๋ยบ่อยๆ จะทำให้การออกดอกกระจัดกระจายไม่สวยงาม แต่สามารถให้ดอกได้เกือบตลอดปี |
 |
จำนวนต้นที่แนะนำ 1 ต้นก็เพียงพอแล้ว (ดูแลยาก ใช้พื้นที่มากในการปลูก) |
|
ข้อมูลอื่นๆ: |
 |
คนทางภาคเหนือใช้ ราก ต้มน้ำอมแก้ปวดฟัน |
 |
ตำรายาไทยใช้ ราก กินเป็นยาอายุวัฒนะ ทาแก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย |
 |
ยางของไม้นี้เรียกว่า กัมอะเคเซีย ผสมแก้ไอ บรรเทาอาการระคายคอ และสามารถพัฒนาเป็นสารยึดเกาะในอุตสาหกรรมการผลิตยาเม็ด |
 |
เปลือกต้น ใช้สมานแผล ห้ามเลือด แก้ท้องเสีย แก้ไอ ริดสีดวงทวาร |
 |
ดอก สกัดกลิ่นหอมเป็นน้ำหอม ใช้เป็นยาแก้เกร็ง ฆ่าแมลง แต่งกลิ่นอาหาร |
 |
ใบ ใช้ใบสด เป็นยาฟอกแผล |
 |
ตำรำยา |
|
1. |
เมื่อมีอาการปวดตามข้อ ให้ใช้รากสดประมาณ 60 กรัม ตุ๋นกับเป็ด ไก่ หรือเต้าหู้ อย่างใดอย่างหนึ่งกิน |
2. |
เมื่อเป็นฝีหนองหลายตัว ให้ใช้รากสดประมาณ 60 กรัม ถ้ามีหนองมาก ให้ตุ๋นกับเต้าหู้กิน ถ้ามีหนองน้อยให้ตุ๋นกับไก่ หรือเป็ดกิน |
3. |
เมื่อเป็นโรคเลือดออกตามไรฟัน ให้ใช้เปลือกต้นประมาณ 1 ส่วนต่อน้ำ 20 ส่วน ผสมกับขิงสดอีก 1 แง่ง ต้มให้เดือด กรองเอาน้ำใช้บ้วนปากทุกเช้าเย็น เป็นประจำ |
4. |
เมื่อเป็นวัณโรคมีร่างกายอ่อนแอ ให้ใช้รากที่แห้งแล้วประมาณ 15 - 30 กรัม ต้มเอาน้ำมาตุ๋นกับเป็ด ไก่ หรือเต้าหู้ อย่างใดอย่างหนึ่ง กินวันละครั้ง |
|
|
เอกสารอ้างอิง: |
|
รวบรวมโดย: |
นพพล เกตุประสาท หน่วยอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พืชพรรณ ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ.นครปฐม |
|