|
หมากหอมแคระ |
ชื่ออื่นๆ: |
หมากแคระ |
ชื่อสามัญ: |
Triandra palm |
ชื่อวิทยาศาสตร์: |
Areca triandra |
วงศ์: |
AGAVACEAE |
ถิ่นกำเนิด: |
ประเทศไทย |
ลักษณะทั่วไป: |
ไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ทรงพุ่มโปร่ง เจริญเติบโตข้า |
ฤดูการออกดอก: |
ตลอดปี |
เวลาที่ดอกหอม: |
เช้าๆ ก่อนแดดออก |
การขยายพันธุ์: |
 |
การเพาะเมล็ด ใช้เวลาในการงอก 45 วัน |
|
ข้อดีของพันธุ์ไม้: |
 |
เป็นหมากพันธุ์เตี้ย ใช้พื้นที่ในการปลูกน้อย |
 |
ดอกมีกลิ่นหอม |
 |
ใบไม่ค่อยร่วง |
|
ข้อแนะนำ: |
 |
ควรปลูกใกล้ทางเดิน กลิ่นหอมเมื่อเดินผ่านประมาณ 2 ม. |
|
ข้อมูลอื่นๆ: |
 |
มีการใช้หมากเป็นสมุนไพรในทวีปเอเซียอย่างกว้างขวาง ตำรับยาแผนโบราณที่มีส่วนผสมของหมากในตำรับ เช่น ยาถ่ายพยาธิในคนและในสัตว์ ยารักษาหวัด ยาขับระดู ยาแก้ท้องเสีย ยาแก้ท้องอืดเฟ้อ ยารักษาอาการผิดปกติในระบบปัสสาวะ ยารักษาอาการบวมน้ำตามหน้า ขา และแขน ยาแก้ปวดข้อ ปวดหลัง ยาแก้ไอ บำรุงม้าม และยารักษาเฉพาะที่ เช่น แผลเรื้อรังที่ศีรษะเด็ก แผลเรื้อรังทั่วไป หูน้ำหนวก ไฟลามทุ่ง แผลฝีมีหนอง ผื่นคัน (พีรศักดิ์, 2001) เมล็ดหมากบดใช้ในอุตสาหกรรมสี และสามารถสกัดเพื่อให้ได้สีแดงและสีดำ (Duke, 1985) |
 |
ส่วนในเชิงอุตสาหกรรมยังมีการใช้เมล็ดทำสีต่างๆ ย้อมแห อวนให้นิ่ม ยืดอายุการใช้งานได้นาน เส้นด้ายไม่เปื่อยเร็ว และใช้เป็นน้ำยาฟอกหนังให้นิ่มทั้งมีสีสวยอีกด้วย (บางเขน 1074, 2547) |
 |
สรรพคุณของหมากส่วนต่างๆ ไว้ดังนี้ (กัญจนา, 2542) |
ใบ: |
ล้อมตับดับพิษ ขับพิษภายในและภายนอก ถอนพิษปรอทตามไรฟัน แก้ปากเปื่อย และต้มอาบแก้เม็ดผดผื่นคัน |
ดอกตัวผู้: |
บำรุงกระเพาะ และแก้ร้อนในกระหายน้ำ |
ผลอ่อน: |
เจริญอาหาร ขับเสมหะ แก้อาเจียน แก้ไอ และสมานแผล |
เปลือกผลแก่: |
ขับลม ขับปัสสาวะ แก้ท้องอืดแน่น แก้บิดและแก้ท้องเสีย |
เมล็ด: |
สมานแผล แก้บิด ฆ่าพยาธิ ฝนทาแผลเน่าเปื่อย รักษาโรคในปากและรอยแผลเป็น |
หมากสง: |
แก้เสมหะ ปิดธาตุ และสมานแผล |
ราก: |
แก้พิษไข้ร้อน สมานลำไส้ และถอนพิษบาดแผล |
หมากแขวน (รากลอย): |
แก้พิษร้อน และสมานแผลลำไส้ |
|
 |
รสของส่วนต่างๆ ของหมากมีจำแนกไว้ดังนี้ ใบ (จืดเย็น) ดอกตัวผู้ (รสหวานหอม) ลูกอ่อน (รสฝาดหวาน) เปลือกลูกแก่ (รสจืดหวาน) เมล็ด (รสฝาด) หมากสง (รสฝาดจัด) ราก (รสฝาดเย็น) หมากแขวน (รสฝาดเย็น) (เภสัชกรรมไทยฉบับปรับปรุงใหม่, 2540) |
|
เอกสารอ้างอิง: |
1. |
Tem Samitinand. Thai Plant Names. Revised Edition 2001. 810 p. |
|
รวบรวมโดย: |
นพพล เกตุประสาท หน่วยอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พืชพรรณ ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ.นครปฐม |
|