ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง
Central Laboratory and Greenhouse Complex
ทรัพยากรพืชพรรณฯ
 
หนามแดง
 
หนามแดง
ชื่ออื่นๆ: มะนาวไม่รู้โห่
ชื่อวิทยาศาสตร์: Carissa carandas
วงศ์: APOCYNACEAE
ถิ่นกำเนิด: ไม้นำเข้าจากต่างประเทศ
ลักษณะทั่วไป: ไม้พุ่มเตี้ย มีทรงพุ่มที่แน่นอน สูง 3 - 4 ม. มีหนามแหลมคมมาก
ฤดูการออกดอก: ปลายฤดูหนาว - ต้นฤดูร้อน (ธ.ค. - มี.ค.)
เวลาที่ดอกหอม: หอมอ่อนๆ ตลอดวัน (ช่วงที่มีอากาศเย็น)
การขยายพันธุ์:
การตอน สามารถทำได้  แต่ควรใช้ฮอร์โมนช่วยเร่งการเกิดรากเพราะออกรากค่อนข้างยากสักนิด  ใช้เวลาในการออกราก 1.5 - 2 เดือน
การเพาะเมล็ด อยู่ในระหว่างการทดลอง ได้รายละเอียดเพิ่มเติมเมื่อไรจะแจ้งให้ทราบ
ข้อดีของพันธุ์ไม้:
ผลเมื่อสุกเต็มที่รับประทานได้ (เปรี้ยวมาก ต้องจิ้มเกลือป่น)
มีหนามแหลมคม ปลูกทำรั้วป้องกันคนหรือสัตว์ผ่านได้
ผลเมื่อยังไม่สุกเมื่อติดอยู่กับต้นใช้เป็นไม้ประดับได้นานหลายเดือน
ข้อแนะนำ:
ควรตัดหนามบริเวณลำต้นที่ต้องสัมผัสบ่อยๆ ออกให้หมด จะช่วยให้ปลอดภัยเวลาอยู่ใกล้ๆ พันธุ์ไม้ชนิดนี้
พันธุ์ไม้ชนิดนี้มีการแตกกิ่งก้านสาขาแบบไม่มีรูปทรงที่แน่นอน จึงมีความจำเป็นต้องตัดแต่งทรงพุ่มบ่อยๆ จึงจะได้ทรงพุ่มที่สวยงาม
ผลสวยงามและมีจำนวนมาก ปลูกเป็นไม้ประดับโชว์ผลก็ได้
ข้อมูลอื่นๆ:
จากการสังเกตพบว่าสีของน้ำในผลมีสีแดงเข้มมาก น่าจะนำสีชนิดนี้ไปใช้ประโยชน์ในด้านการนำไปผสมในอาหารได้ เพราะในเมื่อผลรับประทานได้ สีแดงที่พบในน้ำในผลจึงปลอดภัยต่อสุขภาพแน่นอน
แก่น ใช้บำรุงธาตุ บำรุงไขมัน เหมาะสำหรับคนผอม
ราก แก้ไข้ และมีสารกลุ่ม cardiac glycoside ซึ่งมีฤทธิ์กระตุ้นหัวใจให้ทำงานมากขึ้น จึงควรระวังเมือก
เอกสารอ้างอิง:
1. ปิยะ เฉลิมกลิ่น และคณะ.  2546.  หอมกลิ่นดอกไม้เมืองไทย.  จัดพิมพ์โดยโครงการ BRT บริษัท จิรวัฒน์ เอ็กเพรส จำกัด กรุงเทพฯ. 336 หน้า (233)
2. ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่น 2546. 1,488 หน้า (1250)
รวบรวมโดย: นพพล เกตุประสาท
หน่วยอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พืชพรรณ ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง
คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ.นครปฐม