ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง
Central Laboratory and Greenhouse Complex
ทรัพยากรพืชพรรณฯ
 
ทิวาราตรี ทิวาราตรี
 
ทิวาราตรี
ชื่ออื่นๆ: หอมดึก
ชื่อสามัญ: Night blooming jasmine, Night Hessamine, Queen of the night
ชื่อวิทยาศาสตร์: Cestrum nocturnum L.
วงศ์: SOLANACEAE
ถิ่นกำเนิด: ประเทศอินเดีย
ลักษณะทั่วไป: ไม้พุ่มขนาดเล็ก ทรงพุ่มกลม และมีการแตกกิ่งก้านสาขามาก
ฤดูการออกดอก: ออกดอกตลอดปี
เวลาที่ดอกหอม: หอมแรงตลอดคืน (ยิ่งดึกยิ่งหอมครับ)
การขยายพันธุ์:
การตอน ใช้เวลาในการออกราก 1.5 - 2 เดือน มีความจำเป็นต้องใช้ฮอร์โมนเร่งการออกราก
ข้อดีของพันธุ์ไม้:
ออกดอกตลอดปี และออกพร้อมๆ กันทั้งต้นสวยงาม
ดอกหอมแรงมากเวลากลางคืน
ควบคุมการออกดอกได้ด้วยการควบคุมน้ำและใส่ปุ๋ยที่ถูกต้อง
ราคาต้นพันธุ์ไม่แพง เพราะเป็นไม้หอมที่คนไทยคุ้นเคยมานาน
ข้อแนะนำ:
เมื่อดอกโรย ก้านดอกจะเริ่มแห้ง ควรตัดก้านดอกที่ดอกโรยแล้วทิ้ง จะช่วยให้แตกกิ่ง ทรงพุ่มสวยงาม และออกดอกเร็วขึ้น
ต้องการแสงแดดจัดตลอดวัน และต้องการน้ำมาก
อาการยอดอ่อนแห้งเกิดจากการขาดน้ำในบางช่วง
ข้อมูลอื่นๆ:
ลำต้น เป็นยาแก้โรคเรื้อน
ราก เป็นยาแก้กามโรค และหนองใน
ผล เป็นยาแก้ไข้ ท้องเสีย
ข้อควรระวัง:
ใบ มีสาร steroid sapogenin มีพิษต่อหัวใจ
ผลดิบ มีสารชื่อ Solanine ทำให้ท้องร่วง และอาเจียรอย่างรุนแรง
ผลสุก มีสารชื่อ Atropine ทำให้วิงเวียน ปวดศีรษะ ประสาทหลอน ใจสั่น ม่านตาขยาย ปากแห้ง หลับ ถ้ารับประทานอาจถึงตายได้
เอกสารอ้างอิง:
1. http://www.medplant.mahidol.ac.th/tpex/toxic_plant.asp?gr=G13&pl=0575&id=1
2. Tem Samitinand.  Thai Plant Names.  Revised Edition 2001.  810 p. (121)
รวบรวมโดย: นพพล เกตุประสาท
หน่วยอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พืชพรรณ ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง
คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ.นครปฐม