ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง
Central Laboratory and Greenhouse Complex
ทรัพยากรพืชพรรณฯ
 
พวงแก้วกุดัน
 
พวงแก้วกุดัน
ชื่ออื่นๆ: เครือจางหลวง จางน้อย
ชื่อวิทยาศาสตร์: Clemmatis smilacifolia Wall.
วงศ์: RANUNCULACEAE
ถิ่นกำเนิด: ประเทศไทย
ลักษณะทั่วไป: ไม้เลื้อยรูปทรงไม่แน่นอน
ฤดูการออกดอก: ช่วงเดือน ม.ค. - เม.ย.
เวลาที่ดอกหอม: ช่วงเย็น - เช้า
การขยายพันธุ์:
การตัดชำต้น และเพาะเมล็ด (ข้อมูลจากการค้นคว้า)
ข้อดีของพันธุ์ไม้:
ดูแลง่าย ออกดอกมาก (จากการเก็บข้อมูลพบว่า เป็นพันธุ์ไม้ที่ออกดอกมากกว่าจำนวนใบ ซึ่งผู้รวบรวมเห็นว่าแปลกดี นานๆ จะเห็นไม้เลื้อยลักษณะอย่างนี้ออกดอกมากกว่าใบ)
เป็นพันธุ์ไม้ราคาถูก
สามารถปลูกร่วมกับต้นไม้อื่นได้ดี (ปลูกที่โคนต้นไม้ที่โคนมีแสงแดดส่องถึง)
ปลูกในกระถางก็ได้ หาไม้มาปัก พอต้นโตแล้วทดลองขยายพันธุ์แจกเพื่อนดู เผื่อจะได้พันธุ์ไม้ใหม่มาโดยที่เราไม่ได้ตั้งใจ หรือเมื่อต้นโตจนเกินความต้องการแล้วก็ตัดแต่งจากโคนให้มีข้อปล้อง 3 - 4 ข้อ ประมาณ 2 - 3 สัปดาห์ จะเห็นยอดแตกใหม่แล้วเลี้ยงต่อไปได้อีกเหมือนตอนซื้อมาใหม่ๆ
ข้อแนะนำ:
เนื่องจากเป็นพันธุ์ไม้ที่ขยายพันธุ์ง่าย หากท่านสนใจพันธุ์ไม้หอมชนิดนี้ชื้อมาปลูกเพียงต้นเดียวก็พอ
โดยธรรมชาติพันธุ์ไม้ชนิดนี้จะไม่เลื้อยขึ้นค้างหรือต้นไม้ จึงควรช่วยผูกลำต้นกับกับค้างหรือต้นไม้
เป็นพันธุ์ไม้เลื้อยที่มีลำต้นกรอบเมื่ออายุยังน้อย จึงควรต้องระมัดระวังในการดูแลรักษา โดยเฉพาะการผูกเชือกเมื่อนำต้นขึ้นค้างหรือต้นไม้
หมายเหตุ:
ขณะนี้ที่สวนไม้หอมฯ ไม่มีพันธุ์ไม้ชนิดนี้อยู่แล้ว ว่างๆ จะซื้อมาปลูกใหม่ ใครที่ขุดเอาไป เสียใจด้วยนะ พวงแก้วกุดันไม่ใช่พันธุ์ไม้หอมหายากและราคาก็ไม่แพงอย่างที่คุณคิด
เอกสารอ้างอิง:
1. ปิยะ เฉลิมกลิ่น.  หอมกลิ่นดอกไม้เมืองไทย.  บริษัท จิรวัฒน์ เอ็กซ์เพรส จำกัด.  2546 กรุงเทพฯ 336 หน้า (146)
2. ดร. วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม.  พจนานุกรมไม้ดอกไม้ประดับ.  2542 หน้า (568)
3. Tem Samitinand.  Thai Plant Names.  Revised Edition 2001.  810 p. (137)
รวบรวมโดย: นพพล เกตุประสาท
หน่วยอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พืชพรรณ ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง
คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ.นครปฐม