|
นางแย้ม |
ชื่ออื่นๆ: |
ปิ้งชะมด ปิ้งช้อน ปิ้งสมุทร (เหนือ) ส้วนใหญ่ (ตะวันออกเฉียงเหนือ) |
ชื่อสามัญ: |
Glory bower |
ชื่อวิทยาศาสตร์: |
Clerodendrum philippinium, Clerodendrum chinensis (Osbeck) Mabb. |
วงศ์: |
VERBENACEAE |
ถิ่นกำเนิด: |
ประเทศไทย พม่า |
ลักษณะทั่วไป: |
ไม้พุ่มล้มลุก ดอกคล้ายดอกมะลิซ้อนหลายดอกอัดรวมกัน ต้นแก่เมื่อออกดอกไปได้ระยะหนึ่งจะแห้งตาย ควรตัดออก |
ฤดูการออกดอก: |
ออกดอกตลอดปี แต่ออกดอกมากช่วงฤดูฝน |
เวลาที่ดอกหอม: |
หอมแรงตลอดวัน |
การขยายพันธุ์: |
 |
ขุดต้นอ่อน ที่เกิดจากรากที่อยู่ใกล้ผิวดิน เป็นวิธีการที่ง่ายที่สุด ต้นอ่อนจะเกิดมากตั้งแต่ปีที่ 2 หลังจากเริ่มปลูก |
 |
การตอน และปักชำ เท่าที่รวบรวมข้อมูลสามารถทำได้แต่คิดว่าไม่จำเป็นหากไม่ได้ทำเพื่อการค้า |
|
ข้อดีของพันธุ์ไม้: |
 |
ออกดอกตลอดปี |
 |
เหมาะกับพื้นที่ที่มีความชื้นในดินสูงที่ปลูกพันธุ์ไม้หอมชนิดอื่นไม่ค่อยได้ผล |
 |
ดอกมีกลิ่นหอมแรง |
|
ข้อแนะนำ: |
 |
ปลูกได้ดีทั้งกลางแจ้งและที่ร่มรำไร (แดดประมาณ 50%) |
 |
การปลูกในที่ร่มรำไรจะเหมาะสมที่สุด เนื่องจากใบและดอกจะมีขนาดใหญ่และสวยงาม |
 |
การปลูกในครั้งแรกปลูกเพียงต้นเดียวก็พอเนื่องจากมีการแตกต้นใหม่ |
 |
หากต้องการดอกขนาดใหญ่ ควรเด็ดดอกที่อยู่ตามกิ่งแขนงออกเหลือเฉพาะดอกที่อยู่ที่ยอดบนสุดเท่านั้น คล้ายกับวิธีที่ใช้กับต้นดาวเรือง |
 |
ควรตัดกิ่งและต้นที่แก่ออกบ้างเพื่อจะได้ต้นใหม่ที่ให้ดอกขนาดใหญ่ |
 |
ใบอาจทำให้ผิวหนังของบางคนระคายเคืองได้ |
|
ข้อมูลอื่นๆ: |
 |
ใบ ใช้ประคบรักษาไขข้ออักเสบ รักษาโรคผิวหนัง |
 |
ราก ใช้แก้ไข้ บำรุงประสาท ใช้รากฝนกับน้ำปูนใส ทารักษาเริมหรืองูสวัด ต้มรับประทานแก้ฝีภายใน ขับปัสสาวะ ไตพิการ |
|
เอกสารอ้างอิง: |
1. |
ปิยะ เฉลิมกลิ่น. 2540. ไม้ดอกหอม เล่ม 1. สำนักพิมพ์บ้านและสวน. พิมพ์ครั้งที่ 5. 160 หน้า. (110) |
2. |
ปิยะ เฉลิมกลิ่น และคณะ. 2546. หอมกลิ่นดอกไม้เมืองไทย. จัดพิมพ์โดยโครงการ BRT บริษัท จิรวัฒน์ เอ็กเพรส จำกัด กรุงเทพฯ. 336 หน้า. (104) |
3. |
ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่น 2546. 1, 488 หน้า. (575) |
4. |
Tem Samitinand. Thai Plant Names. Revised Edition 2001. 810 p. (362) |
|
รวบรวมโดย: |
นพพล เกตุประสาท หน่วยอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พืชพรรณ ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ.นครปฐม |
|