ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง
Central Laboratory and Greenhouse Complex
ทรัพยากรพืชพรรณฯ
 
พลับพลึงใหญ่ดอกสีชมพู
 
พลับพลึงใหญ่ดอกสีชมพู
ชื่ออื่นๆ: พลับพลึงดอกแดงสลับขาว
ชื่อสามัญ: Red Crinum
ชื่อวิทยาศาสตร์: Crinum amabile Donn.
วงศ์: AMARYLLIDACEAE
ถิ่นกำเนิด: Australia, tropical Asia, South Africa ส่วนใหญ่เป็นพันธุ์ไม้นำเข้าจากต่างประเทศ
ลักษณะทั่วไป: ไม้ล้มลุกอายุหลายปี ต้นสูงประมาณ 1-2 ม.
ฤดูการออกดอก: ออกดอกตลอดปี ออกมากช่วงฤดูฝน
เวลาที่ดอกหอม: หอมมากช่วงพลบค่ำ
การขยายพันธุ์: การแยกหน่อ หรือเพาะเมล็ด
ข้อดีของพันธุ์ไม้:
ปลูกได้ดีในพื้นที่ชุ่มน้ำ ออกดอกตลอดปี อดทนต่อสภาพแวดล้อม
ข้อแนะนำ:
พลับพลึงทุกชนิดต้องการน้ำมากในการเจริญเติบโต บริเวณที่ควรปลูกคือ พื้นที่ที่มีความชื้นค่อนข้างสูง เช่น ริมคลอง หนอง บึง ไม่ต้องการการดูแลเอาใจใส่มากนัก หากต้องการให้มีดอกมากให้ปลูกกลางแจ้ง แต่หากต้องการใบสวย ให้ปลูกที่มีแสงแดดรำไร
การจำแนกพันธุ์ไม้ชนิดนี้ค่อนข้างยาก หากไม่เห็นดอก หรือเป็นแหล่งที่เราเชื่อถือได้ ก็ไม่สามารถบอกได้ว่าเป็นชนิดดอกชมพูจริง โดยเฉพาะช่วงยังมีขนาดเล็ก
ข้อมูลอื่นๆ:
ส่วนที่เป็นพิษ: หัว (bulb) มีสารพิษ: Lycorine
อาการ:  อาเจียน ตัวสั่น ท้องเดินไม่รุนแรง เหงื่อออก น้ำลายออกมาก ถ้ามีอาการมากอาจเกิด paralysis และ Collapse
วิธีการรักษา
1.  ดื่มน้ำมากๆ เพื่อเจือจางสารพิษ
2.  ทำให้อาเจียน
3.  นำส่งโรงพยาบาลเพื่อล้างท้อง เอาชิ้นส่วนพืชออกให้หมด
4.  รับประทานยาระงับอาการคลื่นไส้อาเจียน เพื่อป้องกันการสูญเสียน้ำและเกลือแร่มากเกินไป
5.  ควรให้น้ำเกลือจนกว่าอาการจะดีขึ้น
หมายเหตุ:
เป็นพันธุ์ไม้หอมที่ได้รับบริจาคจาก อาจารย์นิตยา สุเพียร โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ. นครปฐม
เอกสารอ้างอิง:
1. สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
http://www.medplant.mahidol.ac.th/tpex/toxic_plant.asp?gr=G7&pl=0444&id=1
2. Tem Samitinand.  Thai Plant Names.  Revised Edition 2001.  810 p. (153)
รวบรวมโดย: นพพล เกตุประสาท
หน่วยอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พืชพรรณ ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง
คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ.นครปฐม