|
วาสนา |
ชื่ออื่นๆ: |
มังกรหยก |
ชื่อสามัญ: |
Fragrant dracaena |
ชื่อวิทยาศาสตร์: |
Dracaena fragrans |
วงศ์: |
AGAVACEAE |
ถิ่นกำเนิด: |
เอธิโอเปีย ไนจีเรีย |
ลักษณะทั่วไป: |
ไม้ขนาดกลาง ลำต้นตั้งตรง สูงได้ถึง 10 ม. ไม่ค่อยแตกกิ่งก้านสาขา ชอบแสงปานกลาง |
ฤดูการออกดอก: |
ช่วงฤดูหนาว ประมาณเดือน พ.ย. - ม.ค. |
เวลาที่ดอกหอม: |
ช่วงเย็น - มืด หรือช่วงที่มีอากาศเย็น |
การขยายพันธุ์: |
 |
การปักชำ เป็นวิธีที่เหมาะสมที่สุด โดยการตัดเป็นท่อนๆ ความยาวตามความต้องการของเรา แต่ที่นิยมกันจะเป็นแบบ 3 ท่อนความยาวลดหลั่นกันลงมา มัดรวมกันแล้วนำไปปักชำ จะได้วาสนามีที่มีหลายๆ ยอดสวยงามดี ลองทำดูครับ ขนาดของกิ่งไม่เป็นอุปสรรคในการขยายพันธุ์แต่อย่างใด การชำส่วนที่เป็นยอดไม่ควรตัดใบออก เพราะว่าเมื่อออกรากแล้วอีกนานกว่าใบใหม่จะแตกมาทดแทน |
|
ข้อดีของพันธุ์ไม้: |
 |
ต้องการพื้นที่ในการปลูกไม่มาก ขนาด 1x1 หรือ 2x2 ตรม. ก็เพียงพอ |
 |
เป็นพันธุ์ไม้หอมที่ลำต้นตั้งตรงสวยงาม ไม่มีความจำเป็นที่ต้องตัดแต่งทรงพุ่ม |
 |
ใบไม่ค่อยร่วง |
 |
เมื่อยังไม่โตพอที่จะออกดอกก็สามารถใช้เป็นไม้ประดับได้ดี โดยนิยมปลูกลงกระถางใช้ประดับได้ที่ภายในและภายนอกอาคาร |
|
ข้อแนะนำ: |
 |
วาสนา เป็นพันธุ์ไม้หอมที่นิยมปลูกเป็นไม้ประดับเป็นส่วนใหญ่ นานๆ ครั้งจึงจะออกดอกให้ชมกัน ดังนั้น การปลูกควรพิจาณาคุณสมบัตินี้ด้วย |
 |
วาสนา เป็นพันธุ์ไม้ที่เจริญเติบโตได้ดีในที่ที่มีอากาศค่อนข้างเย็น พบต้นใหญ่ๆ ใบสวยออกดอกดกที่ภาคเหนือ แต่ก็สามารถปลูกได้ดีในภาคกลางและภาคอื่นๆ แต่การออกดอกจะไม่ค่อยดี เว้นเสียแต่ว่าในฤดูที่มีอากาศหนาวเย็นช่วงหนึ่งก็จะพบการออกดอกทั่วไป เช่น ในช่วงปลายปีที่ผ่านมา (2548) จะพบการออกดอกทั่วไปในหลายๆ พื้นที่ |
 |
ในพื้นที่ที่เป็นดินที่มีเกลือ (ดินเค็ม) จะแสดงอาการใบไหม้ การเจริญเติบโตไม่ค่อยดีเท่าที่ควร |
|
ข้อมูลอื่นๆ: |
 |
การใช้วาสนาเป็นไม้ประดับโดยเฉพาะภายในอาคาร ควรนำต้นมารับแสงแดดบ้างสัปดาห์ละ 2 วัน ก็จะสามารถใช้ในการประดับได้นานขึ้น |
 |
เป็นต้นไม้ที่คนไทยและจีนมีคติเชื่อกันว่า ใครปลูกได้เจริญงอกงามก็จะมีความเจริญรุ่งเรืองเหมือนกัน ส่วนคนวาสนาไม่ดี แล้วปลูกต้นไม้นี้ มันก็จะไม่งามหรือตายไปในที่สุด จะเชื่อหรือไม่ก็แล้วแต่บุคคล ที่สวนไม้หอมของศูนย์ปฏิบัติการวิจัยฯ วาสนาผมปลูกเองทั้งนั้น บางต้นก็งาม บางต้นก็ดูจะหงอยๆ อยู่เหมือนกัน |
 |
มีวาสนาอีกชนิดหนึ่งที่คล้ายกันแต่ลักษณะใบสวยกว่ามากคือ วาสนาอธิฐาน |
|
เอกสารอ้างอิง: |
1. |
ดร. วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม. พจนานุกรมไม้ดอกไม้ประดับ. 2542 หน้า (786) |
|
รวบรวมโดย: |
นพพล เกตุประสาท หน่วยอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พืชพรรณ ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ.นครปฐม |
|