ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง
Central Laboratory and Greenhouse Complex
ทรัพยากรพืชพรรณฯ
 
คำมอกหลวง คำมอกหลวง คำมอกหลวง
คำมอกหลวง
 
คำมอกหลวง
ชื่ออื่นๆ: ไข่เน่า คำมอกช้าง ผ่าด้าม ยางมอกใหญ่ แสลงหอมไก๋ หอมไก๋
ชื่อสามัญ: Golden Gardenia
ชื่อวิทยาศาสตร์: Gardenia sootepensis Hutch.
วงศ์: RUBIACEAE
ถิ่นกำเนิด: ดอยสุเทพ ประเทศไทย
ลักษณะทั่วไป: ไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ทรงพุ่มโปร่ง บริเวณโคนต้นไม่ค่อยแตกกิ่งก้านสาขา ในสภาพธรรมชาติจะผลัดใบ ในสภาพสวนปลูกจะไม่ผลัดใบ เรือนยอดทรงกลมแผ่กว้าง ลำต้นบิดงอ เปลือกสีครีมอ่อนหรือเทา ค่อนข้างเรียบหรือหลุดลอกเป็นแผ่นบางๆ
ฤดูการออกดอก: มี.ค. - เม.ย.
เวลาที่ดอกหอม: หอมตลอดวัน
การขยายพันธุ์ :
การเพาะเมล็ด
ข้อดีของพันธุ์ไม้:
ดอกส่งกลิ่นหอมนาน (ดอกร่วงแล้วก็ยังส่งกลิ่นหอม)
เนื่องจากเป็นพันธุ์ไม้ป่าจึงมีความแข็งแรง ไม่มีโรคและแมลงรบกวน
สามารถเจริญเติบโตได้ทั้งในพื้นที่สูง อุณหภูมิต่ำ (ถิ่นกำเนิด) ถึงพื้นที่ต่ำ อุณหภูมิสูง (สวนไม้หอมฯ)
เป็นพันธุ์ไม้ป่าที่พบบนที่สูงปริมาณน้ำฝนไม่มาก จึงเหมาะกับพื้นที่มีปริมาณน้ำไม่มากนัก
ข้อแนะนำ:
เนื่องจากเป็นไม้ยืนต้นที่เพาะจากเมล็ด ในช่วง 4-5 ปีแรก จึงจะเริ่มออกดอก ไม่มีความจำเป็นที่จะใส่ปุ๋ยเร่งการออกดอก
เป็นพันธุ์ไม้หอมที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่ สูงได้ถึง 15 ม. ระยะการปลูกห่างจากต้นไม้ชนิดอื่นอย่างน้อย 4-5 ม. ไม่เหมาะกับบ้านที่มีพื้นที่น้อย
คำมอกหลวงส่วนใหญ่เป็นพันธุ์ไม้ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ การเจริญเติบโตไม่รวดเร็ว การปลูกไม้ชนิดนี้จึงควรปลูกตั้งแต่ต้นยังไม่ใหญ่มาก รากแก้วไม่ขาดจึงจะได้รูปทรงที่ดูดีตามธรรมชาติ
ในกรณีที่เป็นไม้ขุดล้อมมาปลูก ต้องดูแลอย่างดีและสม่ำเสมอ เนื่องจากเป็นไม้ที่มีใบขนาดใหญ่และแตกใบใหม่ช้า
ข้อมูลอื่นๆ:
ดอกออกใหม่ๆ จะมีสีขาวอมเหลืองอ่อนและค่อยๆ เหลืองขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั้งมีสีเหลืองเข็ม
เมล็ด เป็นส่วนผสมของยาสระผมและมีฤทธิ์ในการฆ่าเหา
Chemical constituents of fruits of Gardenia sootepensis Hutch.
[Article in Chinese]  Wang G, Zhao S, Chen D, Lu Y, Zheng Q.

Source: National  Institute for the Control of Pharmaceutical and Biological Products, Beijing 100050.
Abstract  OBJECTIVE: To demonstrate the chemical constituents of the fruits of Gardenia sootepensis.
METHOD: Column chromatographic technology was employed to separate the water soluble part, and the compounds obtained were elucidated by spectral and chemical analysis.
RESULT: Ten compounds have been isolated, seven of which elucidated respectively as D-mannitol, beta-sitosterol, deacetylasperulosidic acid methyl ester, geniposidic acid, geniposide, scandoside methyl ester and dimeric molecule of quinide.
CONCLUSION: All the compounds were obtained from this plant for the first time.
หมายเหตุ:
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ลำต้น ไม้ต้นขนาดกลาง สูง 7-15 ม. มีน้ำยางเหลือง กิ่งอ่อนมีขนปกคลุม ผลัดใบช่วงสั้นๆ เวลาออกดอก
ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปวงรีขอบขนานหรือแกมรูปไข่กลับ กว้าง 12-18 ซม. ยาว 22-30 ซม. ปลายใบแหลมหรือมน โคนใบมน ขอบใบเรียบ มีหูใบเป็นปลอกที่บริเวณรอบกิ่ง หลุดร่วงง่ายเห็นรอยแผลชัดเจน
ดอก ดอกเดี่ยวสีเหลืองสด เปลี่ยนเป็นสีซีดหรือขาวนวลเมื่อร่วง ออกที่ซอกใบ มีกลิ่นหอม ขนาดผ่านศูนย์กลาง 5.5-7 ซม.
ผล ผลเป็นผลสด รูปรีหรือรูปขอบขนาน ขนาดกว้าง 1.8-2.5 ซม. ยาว 2.2-4 ซม.
เอกสารอ้างอิง:
1. BGO Plant Database, The Botanical Garden Organization, Ministry of Environment and Natural Resources, Thailand
2. http://toptropicals.com/cgi-bin/garden_catalog/cat.cgi?uid=Gardenia_sootepensis
3. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/12078152
4. TEM SAMITINAND.  THAI PLANT NAMES.  Revised Edition 2001.  810 p. (249)
รวบรวมโดย: นพพล เกตุประสาท
หน่วยอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พืชพรรณ ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง
คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ.นครปฐม