ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง
Central Laboratory and Greenhouse Complex
ทรัพยากรพืชพรรณฯ
 
เขยตาย
 
เขยตาย
ชื่ออื่นๆ: กระรอกน้ำ กระรอกน้ำข้าว (ชลบุรี) กระโรกน้ำข้าว ลูกเขยตาย (ภาคกลาง) เขนทะ (ภาคเหนือ) ตาระแป (มลายู-ยะลา) น้ำข้าว (ภาคกลาง ภาคใต้) ประยงค์ใหญ่ (กรุงเทพมหานคร) พุทธรักษา (สุโขทัย) มันหมู (ประจวบคีรีขันธ์) ส้มชื่น (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ) ชมชื่น พิษนาคราช
ชื่อวิทยาศาสตร์: Glycosmis pentaphylla (Retz.) DC.
วงศ์: RUTACEAE
ถิ่นกำเนิด: ทวีปเอเชีย ออสเตรเลีย
ลักษณะทั่วไป: ไม้พุ่มขนาดเล็ก - กลาง ทรงพุ่มโปร่ง
ฤดูการออกดอก: ช่วงเดือน มี.ค. - ธ.ค.
เวลาที่ดอกหอม: หอมอ่อนๆ ช่วงอากาศเย็น (เย็น - เช้า)
การขยายพันธุ์:
การตอน ได้ผลดี ไม่มีความจำเป็นที่ต้องใช้ฮอร์โมน
ข้อดีของพันธุ์ไม้:
เป็นพันธุ์ไม้หอมที่แข็งแรง เจริญเติบโตเร็ว อดทนต่อสภาพแวดล้อม
ปลูกมาแล้ว 2 ปีไม่มีโรคและแมลงรบกวนจนทำความเสียหาย
ราคาต้นพันธุ์ถูกมาก
ดอกในช่อดอกทยอยบานนานหลายวัน
ผลรับประทานได้ รสหวานเมื่อสุก
ข้อแนะนำ:
ควรปลูกในพื้นที่มีแสงแดดจัด ความชื้นสูง
ข้อมูลอื่นๆ:
ราก แก้พิษงู ขับน้ำนม แก้พิษฝีภายในและภายนอก อยู่ระหว่างการวิจัยเพื่อหาตัวยายับยั้งไวรัสเอดส์
เอกสารอ้างอิง:
1. http://www.dnp.go.th/Research/Knowledge/herbal.html
2. Tem Samitinand.  Thai Plant Names.  Revised Edition 2001.  810 p. (257)
รวบรวมโดย: นพพล เกตุประสาท
หน่วยอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พืชพรรณ ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง
คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ.นครปฐม