|
มหาหงส์ |
ชื่ออื่นๆ: |
ว่านกระชาย เห็น สะเลเต (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) ตาห่าน เหินแก้ว เหินคำ (ภาคเหนือ) หางหงส์ กระทายเหิน ว่านมหาหงส์ (ภาคกลาง) เลเป ลันเต (ระยอง จันทบุรี) |
ชื่อสามัญ: |
Butterfly lilly, Garland flower, White ginger |
ชื่อวิทยาศาสตร์: |
Hedychium coronarium J. Konig |
วงศ์: |
ZINGIBERACEAE |
ลักษณะทั่วไป: |
ไม้ล้มลุก มีเหง้าใต้ดินอายุหลายปี ส่วนที่เห็นว่าเป็นต้นที่จริงแล้วเป็นกาบใบที่รวมตัวกัน |
ฤดูการออกดอก: |
ออกดอกตลอดปี |
เวลาที่ดอกหอม: |
หอมช่วงเย็นถึงมืด |
การขยายพันธุ์: |
|
แยกเหง้า |
|
ข้อดีของพันธุ์ไม้: |
|
ปลูกได้ดีในพื้นที่ได้รับแสงแดดรำไรระหว่างพันธุ์ไม้ใหญ่ |
|
ดอกจะทยอยบานทำให้สามารถชื่นชมความงามได้หลายวัน |
|
ทนทานต่อดินฟ้าอากาศ โรคแมลง อายุยืน ปลูกง่าย โตเร็ว แข็งแรง |
|
ข้อแนะนำ: |
|
เนื่องจากมีเหง้าใต้ดิน เมื่อปลูกได้ 2 - 3 ปีขึ้นไป ควรรื้อกอปลูกใหม่จะได้ต้นที่มีขนาดใหญ่ขึ้น |
|
ต้องการความชื้นสูง ควรปลูกไว้ใกล้ๆ น้ำ |
|
ข้อมูลอื่นๆ: |
|
มีอานุภาพด้านเมตตามหานิยม เมื่อปลูกเลี้ยงไว้จะทำให้เป็นที่เมตตาของผู้คน และผู้เลี้ยงจะได้รับโชคลาภอยู่เสมอ |
|
หัวใต้ดิน (เหง้า) ต้มเป็นยาแก้ต่อมทอนซิลอักเสบ น้ำคั้นจากหัวใต้ดินใช้ทาแผลฟกช้ำบวม |
|
สารที่ให้ความหอมในมหาหงส์ใช้เป็นส่วนผสมของสบู่ โคโลน โลชั่น ครีมอาบน้ำ |
|
เอกสารอ้างอิง: |
|
รวบรวมโดย: |
นพพล เกตุประสาท หน่วยอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พืชพรรณ ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ.นครปฐม |
|