ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง
Central Laboratory and Greenhouse Complex
ทรัพยากรพืชพรรณฯ
 
โนรา
 
โนรา
ชื่ออื่นๆ: กำลังช้างเผือก พญาช้างเผือก สะเลา (เหนือ)
ชื่อวิทยาศาสตร์: Hiptage benghalensis
วงศ์: MALPIGHIACEAE
ถิ่นกำเนิด: ภาคใต้ของประเทศไทย
ลักษณะทั่วไป: ไม้พุ่มรอเลื้อย ลำต้นแตกออกเป็นกิ่งก้านสาขามาก ไม่มีรูปทรงที่แน่นอน
ฤดูการออกดอก: ฤดูหนาว ( ธ.ค. - ก.พ.)
เวลาที่ดอกหอม: หอมตลอดวัน ช่วงที่อากาศเย็นจะหอมมาก
การขยายพันธุ์:
การตอนกิ่ง เป็นวิธีที่เหมาะสมที่สุดเนื่องจากออกรากง่าย และไม่จำเป็นต้องใช้ฮอร์โมนช่วย
ข้อดีของพันธุ์ไม้:
ราคาถูก
ออกดอกสวยงาม และมีจำนวนมากในการออกดอกแต่ละครั้ง
ดอกเป็นช่อและค่อยๆ ทยอยบาน
โดยธรรมชาติเป็นไม้พุ่มรอเลื้อย แต่สามารถตัดแต่งให้เป็นไม้ยืนต้นเดี่ยวๆ ได้ (ที่สวนไม้หอมของศูนย์ปฏิบัติการวิจัยฯ ทดลองทำไว้ให้ชมแล้ว ว่างๆ แวะมาชมนะครับ)
ข้อแนะนำ:
หากต้องการปลูกเพื่อการให้ออกดอกบ่อยๆ ควรตัดแต่งให้น้อยที่สุดเท่าที่จำเป็นเท่านั้น
ข้อมูลอื่นๆ:
ต้นที่ถูกตัดให้เป็นไม้พุ่มตลอดเวลาจะไม่ค่อยออกดอก เนื่องจากเป็นไม้ที่ออกดอกบริเวณปลายกิ่ง
เอกสารอ้างอิง :
1. ปิยะ เฉลิมกลิ่น และคณะ.  2546.  หอมกลิ่นดอกไม้เมืองไทย.  จัดพิมพ์โดยโครงการ BRT บริษัท จิรวัฒน์ เอ็กเพรส จำกัด กรุงเทพฯ. 336 หน้า (48)
2. ดร. วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม.  พจนานุกรมไม้ดอกไม้ประดับ.  2542 หน้า (396)
3. Tem Samitinand.  Thai Plant Names.  Revised Edition 2001.  810 p. (277)
รวบรวมโดย: นพพล เกตุประสาท
หน่วยอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พืชพรรณ ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง
คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ.นครปฐม