ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง
Central Laboratory and Greenhouse Complex
ทรัพยากรพืชพรรณฯ
 
มะลิพวง
 
มะลิพวง
ชื่ออื่นๆ: มะลุลี มะลิซ่อม
ชื่อสามัญ: The Star Jasmine
ชื่อวิทยาศาสตร์: Jasminum multiflorum ( Bum.f.) Andr.
วงศ์: OLEACEAE
ถิ่นกำเนิด: ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ไทย มาเลเซีย พม่า ลาว เขมร เป็นต้น
ลักษณะทั่วไป: ไม้พุ่มรอเลื้อยเตี้ย รูปแบบทรงพุ่มไม่ค่อยแน่นอน แต่ค่อนข้างกลม
ฤดูการออกดอก: ออกดอกตลอดปี
เวลาที่ดอกหอม: หอมอ่อนตลอดวัน (ช่วงอากาศเย็นจะหอมมาก)
การขยายพันธุ์:
การตอน ใช้กับกิ่งที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่ พันธุ์ไม้หอมชนิดออกรากไม่ยาก
การปักชำ ใช้กับกิ่งที่มียอดอ่อน
การงอก ตามรากที่อยู่ตามผิวดิน
ข้อดีของพันธุ์ไม้:
ออกดอกให้ชมได้บ่อย
ดอกใน 1 ช่อจะทยอยบาน จึงทำให้ได้ชมดอกหลายวัน
ไม่ค่อยมีโรคและแมลงรบกวน
ข้อแนะนำ:
มะลิชนิดนี้มีการแตกกิ่งก้านสาขาค่อนข้างมาก ต้องคอยสังเกตว่าทรงพุ่มแน่นไปหรือไม่ หากแน่นเกินไปต้องทำการตัดแต่งกิ่งออกบ้าง โดยเฉพาะกิ่งที่ไม่ค่อยได้รับแสงแดด (กิ่งเหล่านี้มักจะอยู่ด้านในของทรงพุ่ม)
การตัดแต่งกิ่งแห้งและช่อดอกที่โรยแล้วจะมีส่วนช่วยให้การออกดอกเร็วขึ้น และมีขนาดใหญ่ขึ้น
ปลูกได้ดีในที่มีแสงแดดจัดตลอดวัน
การตัดแต่งกิ่งย่อยที่ไม่ต้องการออก ควรทำบ่อยๆ เพราะว่ามะลิชนิดนี้มีการแตกยอดใหม่จำนวนมาก การปล่อยให้มียอดอ่อนจำนวนมากจะทำให้ช่อดอกเล็กลง
ไม่ชอบน้ำท่วมขัง แต่ต้องการน้ำบ่อยครั้ง
ข้อมูลอื่นๆ:
ใบสด ตำคั้นเอาน้ำทาแก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย
เอกสารอ้างอิง:
1. ปิยะ เฉลิมกลิ่น และคณะ.  2546.  หอมกลิ่นดอกไม้เมืองไทย.  จัดพิมพ์โดยโครงการ BRT บริษัท จิรวัฒน์ เอ็กเพรส จำกัด กรุงเทพฯ. 336 หน้า (9)
2. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. -- กรุงเทพ : นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่น. 2546. 1,488 หน้า (848)
3. http://www.maipradabonline.com/maileay/malole.htm
รวบรวมโดย: นพพล เกตุประสาท
หน่วยอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พืชพรรณ ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง
คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ.นครปฐม