ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง
Central Laboratory and Greenhouse Complex
ทรัพยากรพืชพรรณฯ
 
มะลิหลวง
 
มะลิหลวง
ชื่อสามัญ: Angelwing jasmine
ชื่อวิทยาศาสตร์: Jasminum nitidum
วงศ์: OLEACEAE
ลักษณะทั่วไป: ไม้พุ่มเตี้ย หากปล่อยตามธรรมชาติทรงพุ่มจะกลม
ฤดูการออกดอก: ออกดอกตลอดปี
เวลาที่ดอกหอม : หอมตลอดวัน
การขยายพันธุ์:
การตอน ควรทำในช่วงฤดูฝน (พ.ค. - ส.ค.) เลือกกิ่งที่มีสีเขียวปนน้ำตาล ฮอร์โมนไม่มีความจำเป็นเนื่องจากออกรากไม่ยากนัก
การปักชำ นิยมส่วนที่เป็นยอด เด็ดใบทิ้งเกือบหมด
การทับที่ข้อปล้อง วิธีนี้ไม่นิยมทำเป็นการค้า เพราะว่าทำได้ครั้งละไม่มากนัก แต่ลงทุนต่ำมาก
ข้อดีของพันธุ์ไม้:
ออกดอกให้ชมได้บ่อยๆ ครั้ง
ดูแลง่าย ทนทานต่อสภาพแวดล้อม ไม่ค่อยมีโรคและแมลงรบกวน
ตอบสนองการใช้ปุ๋ยดีมากชนิดหนึ่ง
ช่วงการปลูกกว้างมากตั้งแต่ระดับน้ำทะเลถึงบนภูเขาสูง ไม่ต้องกังวลเหมือนไม้หอมบางชนิดที่ปลูกในพื้นที่ราบไม่ค่อยได้
ข้อแนะนำ:
พันธุ์ไม้ในสกุลนี้หากเราปลูกต้นพันธุ์ไม่ลึก เมื่อปลูกไปได้ระยะหนึ่งจะมีรากส่วนหนึ่งที่อยู่ระดับผิวดิน เมื่อมีการพรวนดิน ใส่ปุ๋ย หรือกำจัดวัชพืช รากส่วนหนึ่งจะโดนตัด หากรากนั้นมีขนาดเหมาะสมจะเกิดต้นใหม่ๆ ได้
มะลิเกือบทุกสายพันธุ์ต้องการแสงจัด จึงควรปลูกในพื้นที่ที่ได้รับแสงแดดตลอดวัน
ภายหลังการออกดอก ควรมีการตัดแต่งกิ่งที่อยู่ในทรงพุ่มออกบ้าง มะลิจะออกดอกภายหลังการตัดแต่งประมาณ 1.5 - 2 เดือนภายหลังการตัดแต่ง ใส่ปุ๋ย และรดน้ำ
ข้อมูลอื่นๆ:
การรดน้ำมากเกินความต้องการ หรือการใส่ปุ๋ยที่มีธาตุไนโตรเจนมากเกินความจำเป็น จะทำให้การออกดอกน้อยลงแต่จะมีใบมากและสีของใบจะเขียวเข็มขึ้น (บ้าใบ)
รวบรวมโดย: นพพล เกตุประสาท
หน่วยอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พืชพรรณ ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง
คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ.นครปฐม