ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง
Central Laboratory and Greenhouse Complex
ทรัพยากรพืชพรรณฯ
 
มะลิจันทบูรณ์
 
มะลิจันทบูรณ์
ชื่อสามัญ: Mysore Mulli
ชื่อวิทยาศาสตร์: Jasminum sambac Mysore Mulli
วงศ์: OLEACEAE
ถิ่นกำเนิด: อินเดีย ถึงตอนใต้ของจีน
ลักษณะทั่วไป: ไม้พุ่มขนาดเล็ก ทรงพุ่มแน่นทึบ แตกกิ่งก้านสาขาจำนวนมาก
ฤดูการออกดอก: ออกดอกตลอดปี
การขยายพันธุ์:
การตอน เป็นวิธีการที่เหมาะสมที่สุด ไม่มีความจำเป็นต้องใช้ฮอร์โมนในการเร่งการเกิดราก
ในกรณีที่ต้องการต้นจำนวนมาก การปักชำ เป็นวิธีการที่เหมาะสมที่สุด แต่วิธีการนี้เหมาะกับผู้ที่มีความรู้ในด้านนี้โดยเฉพาะ และมีความจำเป็นที่จะต้องใช้ฮอร์โมนในการเร่งการเกิดรากในอัตราที่เหมาะสม
ข้อดีของพันธุ์ไม้:
ออกดอกตลอดปีหากมีการดูแลรักษาที่ดีพอ
ข้อแนะนำ:
มะลิชนิดนี้ต้องการแดดเต็มวันจึงจะออกดอกได้ดี
การตัดแต่งภายหลังการออกดอก และการใส่ปุ๋ยในช่วงเวลาที่เหมาะสมจะช่วยให้การออกดอกดีขึ้น
ปุ๋ยเร่งการเจริญเติบโตของต้นใช้สูตร 16-16-16 อัตรา 1-2 ช้อนแกง/ต้น ใส่เดือนละครั้ง
ปุ๋ยบำรุงดอกใช้สูตร 52-5-4 อัตรา 3 ช้อนแกง/น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทุก 15 วัน
การปลูกมะลิในพื้นที่ที่มีความชื้นในดินสูง หรือการรดน้ำบ่อยครั้งเกินไปจะทำให้มะลิออกดอกน้อยลงและมีใบมากและมีสีเขียวเข็ม (บ้าใบ)
ข้อมูลอื่นๆ:
โรคและแมลงศัตรูที่สำคัญ คือ โรครากเน่า แอนแทรกโนส รากปม เพลี้ยไฟ หนอนเจาะดอก หนอนกินใบ และหนอนเจาะลำต้น
การเก็บดอกมะลิควรใช้มือเด็ดตรงก้านดอกใต้กลีบเลี้ยง
เอกสารอ้างอิง:
1. ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร  จังหวัดนครราชสีมา (พืชสวน)
2. http://toptropicals.com
รวบรวมโดย: นพพล เกตุประสาท
หน่วยอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พืชพรรณ ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง
คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ.นครปฐม