|
มะลิฉัตร |
ชื่ออื่นๆ: |
มะลิพิกุล |
ชื่อวิทยาศาสตร์: |
Jasminum sambac (L) Alton. |
วงศ์: |
OLEACEAE |
ถิ่นกำเนิด: |
เป็นพันธุ์ไม้หอมที่นำเข้าจากต่างประเทศ |
ลักษณะทั่วไป: |
ไม้พุ่มเตี้ยมีการแตกกิ่งก้านสาขาในระดับต่ำจำนวนมาก หากไม่มีการตัดแต่งจะมีทรงพุ่มกลม |
ฤดูการออกดอก: |
ออกดอกตลอดปี |
เวลาที่ดอกหอม: |
หอมตลอดวัน แต่จะหอมแรงเมื่ออากาศค่อนข้างเย็นในช่วงเช้าก่อนพระอาทิตย์ขึ้น และหลังพระอาทิตย์ตก |
การขยายพันธุ์: |
 |
การปักชำ ปักชำกิ่งอ่อนในที่ควบคุมความชื้นได้ |
 |
การตอน ใช้กับกิ่งที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่แต่ยังไม่แก่มากนัก ใช้เวลาในการออกรากประมาณ 25 - 45 วัน |
 |
การทับกิ่ง กิ่งที่ทับไม่ควรเป็นกิ่งอ่อน และควรทับบริเวณข้อปล้อง |
|
ข้อดีของพันธุ์ไม้: |
 |
ควบคุมการออกดอกได้โดยการควบคุมการให้น้ำที่ถูกต้อง |
 |
มีกลิ่นหอมแรงสุดในขนาดดอกเท่าๆ กัน |
 |
ใช้พื้นที่ในการปลูกน้อยต่อต้น ตั้งแต่ขนาด 50 x 50 x 50 ซม. ถึง 1 x 1 x 1 ม. ก็เพียงพอ |
|
ข้อแนะนำ: |
 |
ต้องการน้ำในระดับกลาง การให้น้ำต้องเหมาะสม หากให้น้ำมากเกินไปจะไม่ค่อยติดดอกแต่จะมีใบที่สวยงาม ในกรณีที่ให้น้ำน้อยเกินไป สีของใบจะซีดลง |
 |
การเด็ดใบที่แน่นเกินไปโดยเฉพาะใบที่อยู่ในทรงพุ่มทิ้งบ้าง จะช่วยให้การติดและขนาดของดอกดีขึ้น |
 |
มะลิส่วนใหญ่ตอบสนองต่อการใช้ปุ๋ยเคมีเร่งการออกดอกได้ดี |
|
หมายเหตุ: |
 |
จากการรวบรวมข้อมูล ผู้รวบรวมก็ยังสับสนกับชื่อวิทยาศาสตร์ที่ใช้เหมือนกับมะลิลา และมะลิซ้อน |
|
เอกสารอ้างอิง: |
1. |
ปิยะ เฉลิมกลิ่น และคณะ. 2546. หอมกลิ่นดอกไม้เมืองไทย. จัดพิมพ์โดยโครงการ BRT บริษัท จิรวัฒน์ เอ็กเพรส จำกัด กรุงเทพฯ. 336 หน้า (173) |
|
รวบรวมโดย: |
นพพล เกตุประสาท หน่วยอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พืชพรรณ ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ.นครปฐม |
|