ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง
Central Laboratory and Greenhouse Complex
ทรัพยากรพืชพรรณฯ
 
มะลิลา
 
มะลิลา
ชื่ออื่นๆ: ข้าวแตก เตียมูน มะลิ มะลิขี้ไก่ มะลิป้อม
ชื่อสามัญ: Arabian jasmine
ชื่อวิทยาศาสตร์: Jasminum sambac Ait.
วงศ์: OLEACEAE
ถิ่นกำเนิด: ประเทศแถบเอเชีย เช่น อินเดีย คาบสมุทรอาระเบีย
ลักษณะทั่วไป: ไม้พุ่มรอเลื้อยขนาดเล็ก สูงประมาณ 1 - 3 ม.
ฤดูการออกดอก: ออกดอกตลอดปี (ออกดอกน้อยช่วงฤดูหนาว)
เวลาที่ดอกหอม: หอมตลอดวัน (หอมมากช่วงเช้าและเย็น)
การขยายพันธุ์:
การปักชำ (กิ่งยอด) การตอน (กิ่งขนาดใหญ่) การทับกิ่ง (บริเวณที่มีข้อปล้อง)
ข้อดีของพันธุ์ไม้:
ออกดอกบ่อย แต่ในช่วงที่มีอากาศหนาวเย็นจะออกดอกน้อย
ดอกมีกลิ่นหอมแรง และทยอยออกดอกสม่ำเสมอ
ต้นพันธุ์ราคาถูก ปลูกและดูแลรักษาง่ายกว่าพันธุ์ไม้หอมอีกหลายชนิด
ควบคุมการออกดอกได้โดยการควบคุมการให้น้ำและใส่ปุ๋ยที่เหมาะสม
ข้อแนะนำ:
ต้องการแสงแดดจัด ความชื้นสูง ควรปลูกในที่มีแสงแดดจัดจึงจะออกดอกได้ดี
เนื่องจากเป็นพันธุ์ไม้หอมที่ขยายพันธุ์ง่าย จำนวนต้นที่จะชื้อเป็นข้อคิดในการตัดสินใจชื้อ
ควรมีการตัดแต่งกิ่งบ้างเมื่อทรงพุ่มเริ่มแน่น จะทำให้การออกดอกดีขึ้น
การรดน้ำในจำนวนที่เกินความต้องการ อาจทำให้มะลิไม่ค่อยออกดอก
ปุ๋ยที่ใช้ แนะนำปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกในช่วงที่ยังไม่เริ่มออกดอก สำหรับในช่วงที่เริ่มให้ดอกให้เสริมปุ๋ยเคมีสูตรที่มีธาตุอาหารเสมอกันคือ สูตร 16-16-16 เดือนละ 1 ครั้ง จำนวนปุ๋ยขึ้นอยู่กับขนาดของต้น
ข้อมูลอื่นๆ:
ดอกแห้ง ใช้ปรุงยาหอม แก้ไข้ ทำให้จิตใจชุ่มชื่น
ราก ฝนรับประทาน แก้ร้อนใน เสียดท้องรักษาโรคหลอดลมอักเสบ ขับประจำเดือน
สารเคมีที่พบ : ดอก benzyl alcohol, benzyl alcohol ester, jasmone, linalool, linalolest
  ใบ พบ jasminin sambacin
เอกสารอ้างอิง:
1. ดร. วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม.  2542.  พจนานุกรมไม้ดอกไม้ประดับ.  หน้า (673)
2. http://www.floridata.com/ref/j/jasm_sam.cfm
3. Tem Samitinand.  Thai Plant Names.  Revised Edition 2001.  810 p. (300)
รวบรวมโดย: นพพล เกตุประสาท
หน่วยอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พืชพรรณ ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง
คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ.นครปฐม