ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง
Central Laboratory and Greenhouse Complex
ทรัพยากรพืชพรรณฯ
 
พุดชมพู
 
พุดชมพู
ชื่ออื่นๆ: ตึ่งตาใส (ภาคเหนือ) อุณากรรณ เข็มอุณากรรณ
ชื่อวิทยาศาสตร์: Kopsia fruticosa A. DC.
วงศ์: APOCYNACEAE
ถิ่นกำเนิด: จีน พม่า มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ในไทยพบในป่าดิบหรือป่าที่กำลังคืนสภาพบนภูเขาหินปูนที่ระดับความสูง 500 ม.
ลักษณะทั่วไป: ไม้พุ่มขนาดเล็ก ไม่มีทรงพุ่มที่แน่นอน
ฤดูการออกดอก: ฤดูฝน (พ.ค. - ก.ย.)
เวลาที่ดอกหอม: อยู่ในระหว่างการเก็บข้อมูล
การขยายพันธุ์:
อยู่ระหว่างการเก็บข้อมูล แต่จากการค้นคว้าข้อมูลพบว่า มีการติดเมล็ด สันนิษฐานว่าน่าจะขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ดได้ง่าย
ข้อดีของพันธุ์ไม้:
ปลูกได้ดีในดินเกือบทุกชนิด
นิยมปลูกเพื่อให้ร่มเงา ดอกสวยงาม
อดทนต่อสภาพแวดล้อม
ข้อแนะนำ:
ไม่ชอบพื้นที่น้ำขังแฉะ ชอบดินร่วนโปร่ง
ข้อมูลอื่นๆ:
เป็นพันธุ์ไม้ที่มียางสีขาว
เอกสารอ้างอิง:
1. Tem Samitinand.  Thai Plant Names.  Revised Edition 2001.  810 p. (307)
2. Uamporn Veesommai and Thaya Janjittikul.  Plant Materials in Thailand in 2001.  640 p. (208)
รวบรวมโดย: นพพล เกตุประสาท
หน่วยอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พืชพรรณ ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง
คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ.นครปฐม