|
เทียนแดง |
ชื่ออื่นๆ: |
เทียนกิ่ง กกกาว (ภาคอิสาน) เทียนไม้ (ภาคกลาง) เทียนข้าวเปลือก เทียนย้อม โจยกะฮวยเฮี๊ยะ ฮวงกุ่ย (จีน) |
ชื่อสามัญ: |
Egyptian rivet, Henna tree |
ชื่อวิทยาศาสตร์: |
Lawsonia inermis L. |
วงศ์: |
LYTHRACEAE |
ถิ่นกำเนิด: |
แอฟริกา เอเชียตอนใต้ อเมริกา |
ลักษณะทั่วไป: |
ไม้พุ่มเตี้ย มีการแตกกิ่งก้านจำนวนมากและไม่เป็นระเบียบ ออกดอกที่ปลายยอด ที่สวนไม้หอมปลูกมา 2 ปีสูงประมาณ 2 ม. |
ฤดูการออกดอก: |
ออกดอกตลอดปี |
เวลาที่ดอกหอม: |
ดอกหอมอ่อนมาก ช่วงเช้าและเย็น |
การขยายพันธุ์: |
 |
เพาะเมล็ด ที่สวนไม้หอมพบการติดของเมล็ดจำนวนมากภายหลังการบานของดอก แต่ยังไม่มีการทดลองเพาะเมล็ด |
 |
การตอนกิ่ง เป็นวิธีที่เหมาะสมที่สุด ขยายพันธุ์ได้ค่อนข้างง่าย แต่ควรใช้ฮอร์โมนในการเร่งการเกิดราก ใช้เวลาในการออกรากประมาณ 1.5 - 2 เดือน |
|
ข้อดีของพันธุ์ไม้: |
 |
ออกดอกตลอดปี |
 |
โรคแมลงไม่รบกวน |
 |
ปลูกได้ดีในพื้นที่มีแดดจัด และสภาพดินที่มีธาตุอาหารค่อนข้างต่ำได้ |
 |
ในรอบปีที่ผ่านมาพบว่าพันธุ์ไม้หอมชนิดนี้ทนต่อน้ำท่วมได้ช่วงหนึ่ง (2 - 3 วัน) |
 |
สามารถควบคุมทรงพุ่มในระดับที่ต้องการได้ง่าย |
 |
เป็นพันธุ์ไม้หอมที่น่าจับตามองชนิดหนึ่ง เนื่องจากมีประโยชน์หลายด้าน ทั้งเป็นพันธุ์ไม้หอม ไม้ประดับ และโดยเฉพาะทางด้านสมุนไพรรักษาโรค เสริมความงาม การปลูกยังไม่แพร่หลายมากนัก |
|
ข้อแนะนำ: |
 |
เนื่องจากขยายพันธุ์ค่อนข้างง่ายและมีกิ่งก้านสาขามาก จึงไม่มีความจำเป็นที่จะชื้อพันธุ์ไม้ชนิดนี้จำนวนมาก |
 |
ต้องการน้ำในการเจริญเติบโตในระดับปานกลาง ไม่ทนการขาดน้ำเป็นเวลานาน ใบจะเหี่ยวทันทีเมื่อเริ่มมีอาการขาดน้ำ |
 |
เนื่องจากมีการแตกกิ่งก้านสาขามาก การตัดแต่งจึงมีความจำเป็นอย่างมากในการควบคุมและดูแลทรงพุ่มให้สวยงาม และควรตัดแต่งกิ่งภายหลังการออกดอกหากไม่ประสงค์จะไว้เมล็ดเพราะจะทำให้ออกดอกเร็วขึ้น |
 |
บริเวณที่ปลูกควรได้รับแสงแดดเต็มวัน การปลูกในที่มีแสงแดดอ่อนจะทำให้ต้นไม่แข็งแรง การออกดอกและจำนวนดอกจะลดลง |
|
ข้อมูลอื่นๆ: |
 |
ใบ ใช้พอกแผลสด ห้ามเลือด แก้เล็บขบ เล็บเป็นแผลเจ็บหรือหนอง ฝี แผลไฟไหม้ หรือน้ำร้อนลวก แผลบวมฟกช้ำ ผิวหนังอักเสบ และใช้แก้เจ็บคอ |
 |
ใบสดหรือใบแห้ง ใช้ต้มเอาแต่น้ำอมบ้วนปากและคอ แก้เจ็บคอ |
 |
ใบ ตากแห้ง บดเป็นผง ต้มน้ำเดือด แล้วเติมผงเทียนกิ่งลงไป เติมน้ำมะนาว แล้วนำไปใช้ย้อมสีผม |
 |
ขับประจำเดือน ขับปัสสาวะ รักษาตาเจ็บ แก้สะอึก สมานบาดแผล แก้น้ำเหลืองเสีย แก้ท้องเสีย แก้ท้องร่วง แก้บิดมูกเลือด แก้เจ็บคอ รักษากามโรค แก้ปวดท้อง แก้ผิวหนังอักเสบ |
 |
วงการเครื่องสำอางใช้ผงใบเทียนกิ่งแห้งเป็นยาย้อมผมให้เป็นสีน้ำตาลแดงหรือแดง ปนส้ม และช่วยป้องกันผมจากแสงแดดด้วย สารออกฤทธิ์คือ lawsone ซึ่งพบว่ามีความปลอดภัย ไม่มีฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์และก่อมะเร็ง |
 |
ตำรายาไทยใช้ใบสดแก้เล็บขบหรือเป็นหนอง โดยตำพอกหรือตำกับเหง้าขมิ้นชัน เติมเกลือเล็กน้อยพอก มีรายงานระบุว่าสามารถฆ่าเชื้อหนองและเชื้อราอันเห็นสาเหตุของโรคกลาก |
 |
ใช้รักษาเล็บช้ำ เล็บขบ แผลมีหนอง ฝี แผลไฟไหม้ และใช้เป็นยาย้อมผม |
|
วิธีใช้: |
ส่วนใหญ่ใช้ตำพอก แต่มีหลายตำรับใช้ใบสดผสมเหล้าตำพอก ใบสดตำผสมขมิ้นอ้อยและเกลือ ใบสดตำผสมข้าวสุกนำไปปิ้งไฟให้เกรียม แล้วนำมาตำผสมเกลือเล็กน้อยพอกเล็บ |
สารเคมี: |
จากการทดลองพบว่าในใบเทียนกิ่งมีสารเคมี naphthoquinone ชื่อ "lawsone" (2-hydroxy-1,4-naphthoquinone) ในปริมาณ 0.5 - 0.9% และยังมี 1,4-naphthoquinone, Xanthones และ tannin 10% |
|
 |
สมุนไพรสกัดจากเทียนกิ่งช่วยให้ผมดกดำเป็นประกายนุ่มสลวย หนังศีรษะสะอาด ปราศจากรังแค รากผมแข็งแรง (ลอนาแฮร์โทนิค ลอนาแฮร์โคท) |
 |
สารมีสีในเทียนกิ่งเป็นสารจำพวก naphthoquinone ชื่อ "ลอโซน" (Lawsone, 2-hydroxy-1, 4-naphthoquinone) มีลักษณะเป็นสีส้ม-แดง สารนี้ไม่มีพิษและไม่ทำให้ระคายเคือง เมื่อใช้ย้อมผมจะเป็นสีแดง อาจใช้ผสมกับสีอื่น เช่น สีคราม (indigo blue) จากต้นคราม (Indigofera tinctoria) จะได้เฉดผมสีน้ำตาลแดงถึงดำ นอกจากใช้ในผลิตภัณฑ์ใช้ย้อมสีผมแล้ว สารสกัดจากใบเทียนกิ่งยังมีคุณสมบัติในการช่วยปรับสภาพผมอีกด้วย |
|
เอกสารอ้างอิง: |
|
รวบรวมโดย: |
นพพล เกตุประสาท หน่วยอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พืชพรรณ ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ.นครปฐม |
|