|
ยี่โถดอกสีแดงชั้นเดียว |
ชื่ออื่นๆ: |
ยี่โถ ยี่โถไทย ยี่โถดอกแดง (ภาคกลาง) อินโถ (ภาคเหนือ) |
ชื่อสามัญ: |
Fragrant oleander, Rose bay, Sweet oleander, Oleander |
ชื่อวิทยาศาสตร์: |
Nerium oleander L. |
วงศ์: |
APOCYNACEAE |
ถิ่นกำเนิด: |
ไทย จีน อินเดีย อิหร่าน แถบเมดิเตอร์เรเนียน |
ลักษณะทั่วไป: |
ไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็ก สูงประมาณ 6 ม. มีการแตกกิ่งก้านสาขามากที่โคนต้น |
ฤดูการออกดอก: |
ออกตลอดปี |
เวลาที่ดอกหอม: |
หอมตลอดวัน (ช่วงที่มีอากาศเย็นจะส่งกลิ่นหอมแรงกว่า) |
การขยายพันธุ์: |
 |
การตอนกิ่ง เป็นวิธีการที่เหมาะสมมากที่สุดเนื่องจากเป็นพันธุ์ไม้หอมที่ขยายพันธุ์ง่ายและเจริญเติบโตเร็ว |
 |
การปักชำ สามารถทำได้แต่ต้องใช้อุปกรณ์และสถานที่เพาะชำ วิธีนี้เหมาะสำหรับผู้ที่ขยายพันธุ์เพื่อการค้าที่ต้องการจำนวนมากๆ |
 |
การเพาะเมล็ด ยี่โถมีเมล็ดคล้ายๆ กับชวนชมแต่มีขนาดเล็กกว่า ที่สวนไม้หอมฯ ยังไม่มีการทดลอง การเพาะเมล็ดอาจได้ต้นที่มีลักษณะแตกต่างกันออกไปได้ |
|
ข้อดีของพันธุ์ไม้: |
 |
ออกดอกตลอดปี |
 |
เป็นพันธุ์ไม้หอมราคาถูก |
 |
การดูแลรักษาง่าย ไม่ค่อยมีโรคและแมลงรบกวน ทนทานต่อสภาพแวดล้อม |
|
ข้อแนะนำ: |
 |
ในกรณีที่ต้องการปลูกเพื่อให้ออกดอกที่สวยงาม ต้องทำการตัดแต่งกิ่งแขนงเล็กๆ ออกให้หมด |
 |
ยี่โถเป็นพันธุ์ไม้หอมที่ต้องการแดดจัดตลอดวัน ต้องการน้ำในระดับปานกลาง การปลูกควรดูเรื่องแสงเป็นสำคัญ |
 |
ยี่โถมีหลายสี มีทั้งชนิดดอกซ้อน และดอกลา ชนิดดอกซ้อนจะมีกลิ่นหอมมากกว่าชนิดดอกลา ในการเลือกซื้อมาปลูกควรเลือกซื้อต้นที่มีดอกติดมาด้วย จะช่วยป้องกันความผิดพลาดได้ |
|
ข้อมูลอื่นๆ: |
 |
ลำต้น และยางจากทุกส่วน มีสารพิษชื่อ digitalis ทำให้ระคายเคืองเยื่อบุในปากและกระเพาะอาหารก่อน ตามด้วยอาการอาเจียน ท้องเดิน ปวดศีรษะและปวดท้อง ถ้ารับประทานเข้าไปมาก และล้างท้องไม่ทัน สารพิษจะถูกดูดซึมผ่านทางลำไส้และแสดงพิษต่อหัวใจ ซึ่งจะเกิดขึ้นช้าหรือเร็ว ขึ้นกับชนิดของไกลโคไซด์ |
 |
ใบ ต้มรับประทานลดอาการบวม แก้ไข้มาเลเรีย ทำให้แห้งเป็นยาไล่แมลง |
 |
ดอก ใช้แก้อักเสบ ปวดศีรษะ |
|
เอกสารอ้างอิง: |
|
รวบรวมโดย: |
นพพล เกตุประสาท หน่วยอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พืชพรรณ ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ.นครปฐม |
|