ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง
Central Laboratory and Greenhouse Complex
ทรัพยากรพืชพรรณฯ
 
ช้างน้าว
 
ช้างน้าว
ชื่ออื่นๆ: กระแจะ (ระนอง) กำลังช้างสาร (กลาง) ขมิ้นพระต้น (จันทบุรี) ควุ (กะเหรี่ยง - นครสวรรค์) แง่ง (บุรีรัมย์) ตานนกกรด (นครราชสีมา) ช้างโน้ม (ตราด) ช้างโหม (ระยอง) ตาชีบ้าง (กะเหรี่ยง - เชียงใหม่) ตาลเหลือง (เหนือ) ฝิ่น (ราชบุรี) โว้โร้ (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี)
ชื่อวิทยาศาสตร์: Ochna integerrima (Lour.) Merr.
วงศ์: OCHNACEAE
ถิ่นกำเนิด: ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ไทย มาเลเซีย พม่า ลาว เขมร เป็นต้น
ลักษณะทั่วไป: ไม้พุ่มขนาดเล็ก รูปแบบทรงพุ่มไม่ค่อยแน่นอน แต่ค่อนข้างกลม
ฤดูการออกดอก: ออกดอกช่วงแล้ง เดือน ม.ค. - พ.ค.
เวลาที่ดอกหอม: หอมอ่อนตลอดวัน (ช่วงอากาศเย็นจะหอมมาก)
การขยายพันธุ์:
การเพาะเมล็ด (จากการรวบรวมข้อมูล) ที่สวนไม้หอมฯ ยังไม่มีการติดเมล็ด
ข้อดีของพันธุ์ไม้:
สามารถปลูกได้ในพื้นที่ที่มีน้ำไม่มาก (พื้นที่แห้งแล้ง) ได้ดีชนิดหนึ่ง
ไม่ค่อยมีโรคและแมลงรบกวน
ราคาไม่แพง
ข้อแนะนำ:
เป็นพันธุ์ไม้ที่เจริญเติบโตช้า จำนวนพันธุ์ไม้ที่ควรซื้อควรตามจำนวนที่ต้องการทันที ไม่ควรรอต้นใหม่จากการขยายพันธุ์
ไม่ชอบน้ำท่วมขัง ควรปลูกในพื้นที่ดอนน้ำท่วมไม่ถึง
ในช่วงฤดูกาลออกดอก ควรงดการให้น้ำเพื่อให้ใบร่วงพร้อมกันทั้งต้น จะทำให้ออกดอกพร้อมๆ กันทั้งต้น
ข้อมูลอื่นๆ:
เป็นพันธุ์ไม้ประจำจังหวัดมุกดาหาร
ราก แก้เบาหวาน ผิดสำแดง ดีซ่าน
เอกสารอ้างอิง:
1. Tem Samitinand.  Thai Plant Names.  Revised Edition 2001.  810 p. (249)
2. Uamporn Veesommai and Thaya Janjittikul.  Plant Materials in Thailand in 2001.  640 p. (140)
รวบรวมโดย: นพพล เกตุประสาท
หน่วยอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พืชพรรณ ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง
คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ.นครปฐม