ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง
Central Laboratory and Greenhouse Complex
ทรัพยากรพืชพรรณฯ
 
บานบุรีหอม
 
บานบุรีหอม
ชื่ออื่นๆ: บานบุรีแสด
ชื่อวิทยาศาสตร์: Odontadenia macrantha (Roem. & Schult') Markgr. 
ชื่อพ้อง  O. speciosa Benth., O. grandiflora (G. Mey.) Kuntze
วงศ์: APOCYNACEAE
ถิ่นกำเนิด: คอสตาริกาถึงเปรู และตอนเหนือของบราซิล และแถบทวีปอเมริกาใต้
ลักษณะทั่วไป: ไม้เลื้อยขนาดเล็ก ลำต้นเปราะหักง่ายเมื่อยังเล็กอยู่
ฤดูการออกดอก: ปลายฤดูหนาว - ต้นฤดูร้อน ( ม.ค. - มี.ค.)
เวลาที่ดอกหอม: หอมตลอดวัน (หอมมากช่วงอากาศเย็น)
ข้อดีของพันธุ์ไม้:
ดอกเป็นพวงและทยอยบานอยู่ได้หลายวัน
ใช้พื้นที่ในการปลูกไม่มาก
ออกดอกตลอดปี
ข้อแนะนำ:
ลำต้นเปราะหักง่ายในช่วงที่เป็นต้นอ่อนๆ
ชอบอยู่กลางแจ้ง
เป็นพันธุ์ไม้ที่มีการผูกติดกับค้างหรือที่ยึดเหนี่ยวเนื่องจากไม่สามารถเลื้อยไปได้เอง
ข้อมูลอื่นๆ:
ดอกบานไม่พร้อมกัน สื่อความหมายถึงการทำงานอย่างมีแบบแผน จึงจะไปถึงความสำเร็จ
เอกสารอ้างอิง:
1. ดร. ปิยะ เฉลิมกลิ่น.  ไม้ดอกหอม เล่ม 1.  2540 หน้า (122)
รวบรวมโดย: นพพล เกตุประสาท
หน่วยอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พืชพรรณ ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง
คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ.นครปฐม