ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง
Central Laboratory and Greenhouse Complex
ทรัพยากรพืชพรรณฯ
 
หอมหมื่นลี้ (ดอกขาว) หอมหมื่นลี้ (ดอกขาว)
 
หอมหมื่นลี้ (ดอกขาว)
ชื่ออื่นๆ: สารภีฝรั่ง (เชียงใหม่) สารภีอ่างกา
ชื่อสามัญ: Sweet osmanthus
ชื่อวิทยาศาสตร์: Osmanthus fragrans Lour.
วงศ์: OLEACEAE
ถิ่นกำเนิด: ประเทศจีน
ลักษณะทั่วไป: ไม้พุ่มขนาดเล็ก ทรงค่อนข้างโปร่งและมีการแตกกิ่งก้านสาขามาก เจริญเติบโตช้า
ฤดูการออกดอก: ช่วงฤดูฝน - ฤดูหนาว (ต.ค. - ก.พ.)
เวลาที่ดอกหอม: ช่วงเย็นใกล้มืด - เช้าก่อนแดดออก
การขยายพันธุ์:
จากการรวบรวมข้อมูล หอมหมื่นลี้ขยายพันธุ์ได้ 2 วิธีการ คือ การปักชำ และการตอน
ข้อดีของพันธุ์ไม้:
ปลูกได้ดีในพื้นที่สูง อุณหภูมิต่ำ และสามารถปลูกได้ในพื้นที่ต่ำ อุณหภูมิค่อนข้างสูงได้บ้าง
เป็นพันธุ์ไม้ขนาดเล็ก สามารถเป็นไม้กระถางได้หลายปี
ข้อแนะนำ:
เป็นพันธุ์ไม้ที่ต้องการอากาศเย็นจึงจะออกดอกได้ดี ที่สวนไม้หอมฯ ปลูกมา 2 ปีเศษ ออกดอก 1 ครั้ง และมีสภาพดอกไม่สมบรูณ์ การพิจาณาเรื่องความเย็นของอากาศเป็นเรื่องที่ควรพิจารณาก่อนปลูกด้วย
เป็นพันธุ์ไม้หอมที่ไม่ค่อยออกดอกหากการดูแลรักษาไม่ดีพอ ผู้ที่สนใจจะปลูกไม้หอมชนิดนี้หากไม่มีค่อยมีเวลามากพอ จะไม่ออกดอกให้ชม
สำหรับผู้ที่มีหอมหมื่นลี้อยู่แล้ว หากยังไม่ออกดอก (1 ปีแรก) อย่าเพิ่งท้อทอย พยายามดูแลเพิ่มเติมสักนิด หอมหมื่นลี้จะออกดอกให้ชมแน่นอนครับ
ข้อมูลอื่นๆ:
หอมหมื่นลี้มี 2 สายพันธุ์ คือ สายพันธุ์ที่มีดอกสีเหลือง และสายพันธุ์ที่มีดอกสีขาว ที่เห็นในภาพเป็นชนิดดอกสีขาว
เกสรดอกหอมหมื่นลี้ เพิ่มความหวาน ความกลมกล่อมของชาอูหลงก้านอ่อนให้น่าดื่มยิ่งขึ้น
เอกสารอ้างอิง:
1. http://members.tripod.com/suan_naratip/sweetos.htm
2. Tem Samitinand.  Thai Plant Names.  Revised Edition 2001.  810 p. (387)
รวบรวมโดย: นพพล เกตุประสาท
หน่วยอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พืชพรรณ ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง
คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ.นครปฐม