ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง
Central Laboratory and Greenhouse Complex
ทรัพยากรพืชพรรณฯ
 
เตยทะเล
 
เตยทะเล
ชื่ออื่นๆ: การะเกด ลำเจียก (กลาง) ปาแนะ (มลายู-นราธิวาส)
ชื่อสามัญ: Seashore screwpine
ชื่อวิทยาศาสตร์: Pandanus odoratissimus, Pandanus odoratissimus L.f.
วงศ์: PANDANACEAE
ถิ่นกำเนิด: ตามชายหาดทั่วคาบสมุทรในแถบเส้นศูนย์สูตรรอบโลก โดยพบขึ้นเป็นดงอยู่บนชายหาด ตั้งแต่หมู่เกาะฟิลิปปินส์ เวียดนาม ไทย คาบสมุทรมลายู ออสเตรเลีย อินเดีย หมู่เกาะฮาวาย โพลินีเซีย และวานูอาตู ในประเทศไทยพบมากบริเวณเกาะตะรุเตา จังหวัดสตูล และหาดเจ้าไหม จังหวัดตรัง เป็นต้น
ลักษณะทั่วไป: ไม้พุ่ม สูงประมาณ 5 - 15 ม. แตกต้นบริเวณโคนจำนวนมาก
ฤดูการออกดอก: ที่สวนไม้หอมฯ ยังไม่มีการออกดอก
เวลาที่ดอกหอม: ดอกบานตอนเย็น (ที่สวนไม้หอมฯ ยังไม่มีข้อมูล)
การขยายพันธุ์:
แยกต้นที่แตกใหม่ในกอ ทำได้ในปีที่ 2
เพาะเมล็ด สามารถทำได้ไม่ยาก แต่ต้องใช้เวลานานหลายปีกว่าจะมีเมล็ดให้เพาะ
ข้อดีของพันธุ์ไม้:
ทนน้ำขังแฉะ น้ำเค็ม มีรากค้ำจุนทำให้ทนต่อลม ชอบแสงแดดจัด
ปลูกได้ดีในพื้นที่ชุ่มน้ำ พื้นที่ดินเค็ม หรือพื้นที่ชายน้ำตามแม่น้ำ ชายหาด ลำคลอง หนอง บึง
ทนทานต่อสภาพแวดล้อม โรคและแมลงศัตรูพืช
ผลกินได้
ปลูกคลุมวัชพืชได้ดีเพระมีใบหนาแน่น
ข้อแนะนำ:
ในช่วง 1 ปีแรกการเจริญเติบโตจะช้า ควรดูแลเรื่องวัชพืชให้ดีเพราะอาจโดนวัชพืชขึ้นคลุมจนตายได้
ขอบใบมีหนามแหลม ก่อนปลูกควรพิจารณาให้ดีก่อน
ต้องการพื้นที่ในการปลูกมาก อย่างน้อยต้องประมาณ 3 x 3 ตรม.
จำนวนที่แนะนำให้ปลูก 1 ต้นก็เพียงพอ (เริ่มปีที่ 2 จะเริ่มแตกต้นที่โคนกอแล้วสามารถแยกกอได้แล้ว)
เตยทะเล ชอบแสงแดดจัด
ข้อมูลอื่นๆ:
ใบ นำไปสานทำเสื่อ
เปลือก ใช้ทำเชือก
ดอก มีคุณสมบัติช่วยบำรุงหัวใจ และทำเครื่องหอม
ราก ส่วนทีโผล่ขึ้นมาอยู่เหนือพื้นทรายใช้ขับปัสสาวะ
พบขึ้นมากตามชายหาดใกล้ชายฝั่งทะเล
ถ้าต้นไหนมีดอกเพศผู้ จะเรียกว่า ลำเจียก
ถ้าต้นไหนมีดอกเพศเมีย จะเรียกว่า เตยทะเล
เอกสารอ้างอิง:
1. http://kanchanapisek.or.th/kp6/BOOK22/chapter4/t22-4-l3.htm
2. Tem Samitinand.  Thai Plant Names.  Revised Edition 2001.  810 p. (393)
รวบรวมโดย: นพพล เกตุประสาท
หน่วยอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พืชพรรณ ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง
คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ.นครปฐม