ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง
Central Laboratory and Greenhouse Complex
ทรัพยากรพืชพรรณฯ
 
เตยหอม
 
เตยหอม
ชื่ออื่นๆ: เตยหอมใหญ่ (Toei-hom-yai) (ภาคกลาง) เตยหอมเล็ก (Toei-hom-lek) ปาแนะวองิง (Pa-nae-wo-nging) (มลายู) หวานข้าวไหม้ (เหนือ) ปาแนะออริง (ใต้) ปาแนก๊อจี (ไทยมุสลิม) ปานหนัน (นราธิวาส-ปัตตานี) พั้งลั้ง (จีน)
ชื่อสามัญ: Pandanus palm
ชื่อวิทยาศาสตร์: Pandanus amaryllifolius Roxb.
วงศ์: PANDACEAE
ข้อมูลอื่นๆ:
ประกอบด้วยน้ำมันหอมระเหย และมีสีเขียวของคลอโรฟิลล์ ซึ่งในน้ำมันหอมระเหยประกอบด้วยสารหลายชนิด เช่น ไลนาลิลอะซีเตท (Linalyl acetate) เบนซิลอะซีเตท (Benzyl acetate) ไลนาโลออล (Linalool) เจอรานิออล (geraniol) และ เอทิลวานิลลิน (Ethylvanillin)
ต้น ราก ยาขับปัสสาวะ ใบสด น้ำใบเตย บำรุงหัวใจ
 
วิธีใช้: ยาขับปัสสาวะ ใช้ต้น 1 ต้น หรือ ราก 1 กำมือ ต้มกับน้ำดื่ม
  ยาบำรุงหัวใจ ใบสดไม่จำกัด ผสมในอาหาร หรือนำมาคั้นน้ำรับประทาน ครั้งละ 2 - 4 ช้อนแกง
ใบเตยหอมใช้แต่งสีและกลิ่นเครื่องดื่ม ขนมหวาน และอาหารหลายชนิด
คุณค่าทางโภชนาการ ใบเตยสด มีน้ำมันหอมระเหย รสหวาน หอม มัน และมีสีเขียวที่นิยมใช้แต่งสีอาหาร เป็นสารคอโรฟิลด์
ใช้เป็นยา ใบสดต้มกับน้ำดื่ม ลดอาการกระหายน้ำ บำรุงหัวใจ ทำให้ชุ่มชื่น ต้นและรากเป็นยาขับปัสสาวะ รักษาโรคเบาหวาน และแก้กระษัยน้ำเบาพิการ
น้ำใบเตยหอม ส่วนผสม ใบเตย 3 ถ้วย น้ำสะอาด 8 ถ้วย น้ำตาลทราย 2 ถ้วย น้ำแข็ง
 
วิธีทำ: ใบเตยสดที่ไม่แก่มาก เก็บมาใหม่ๆ ล้างทีละใบให้สะอาด แช่น้ำด่างทับทิม 10 - 15 นาที นำมาปั่นตามขวางเป็นชิ้นเล็กๆ แบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนที่หนึ่งใส่ลงในหม้อที่มีน้ำกำลังเดือด ต้มเคี่ยว 5 - 10 นาที  เติมน้ำตาลทรายให้รสหวานจัด  กรองเอากากออก  ใบเตยที่หั่นแล้วอีกส่วนหนึ่งปั่นให้ละเอียดโดยเติมน้ำ กรองเอากากออก เติมน้ำที่คั้นได้ซึ่งมีสีเขียวและกลิ่นหอมลงในหม้อใบเตยที่เติมน้ำตาลและกำลังเดือด ชิมให้มีรสหวาน พอเดือดรีบยกลง เมื่อจะดื่มใส่น้ำแข็งบดละเอียด
สรรพคุณทางยาและวิธีใช้
 
โรคหัด โรคผิวหนัง: ใช้ใบสดตำพอก
ยาบำรุงหัวใจ: ใช้ใบสดตำ คั้นเอาน้ำ จะได้น้ำสีเขียวมาผสมอาหาร แต่งกลิ่น แต่งสีขนม หรือใช้ในรูปของใบชา ชงกับน้ำร้อน หรือใช้ใบสดต้มกับน้ำจนเดือด เติมน้ำตาลเล็กน้อยใช้ดื่มเป็นประจำ
โรคเบาหวาน: นำส่วนต้นและราก ต้มกับเนื้อหรือใบไม้สักจะช่วยรักษาโรคเบาหวาน
เอกสารอ้างอิง:
1. ดร. วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม.  พจนานุกรมไม้ดอกไม้ประดับ.  2542 หน้า
2. http://www.healthnet.in.th/text/forum2/juice/juice036.htm
3. http://www.tungsong.com/samunpai/drug/23_Teyhom/index_teayhom.html
4. Tem Samitinand.  Thai Plant Names.  Revised Edition 2001.  810 p.
รวบรวมโดย: นพพล เกตุประสาท
หน่วยอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พืชพรรณ ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง
คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ.นครปฐม